วิถี “ทุเรียนลับแล” บ้านผามูบ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ : ซีรีส์วิถีคน (10 พ.ค. 64) | โตนด

วิถี “ทุเรียนลับแล” บ้านผามูบ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ : ซีรีส์วิถีคน (10 พ.ค. 64)


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

อำเภอ \”ลับแล\”…เป็นเมืองในหุบเขามีชื่อเสียงโด่งดังเรื่อง \”ทุเรียน\” พันธุ์หลงลับแล, พันธุ์หลินลับแล ที่อร่อยและมีราคาแพง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ มีที่ลับแลที่เดียวและสร้างชื่อเสียงให้ชาวบ้านที่นี่
\”ทุเรียน\” เป็นมหัศจรรย์ผลไม้แห่งเมืองลับแล ด้วยความที่พื้นที่ทำมาหากินส่วนใหญ่ของชาวลับแลเป็นภูเขา ลาดชัน 45 90 องศา ทำให้ชาวบ้านที่นี่มีวิถีการปลูกผลไม้บนภูเขา ซึ่งทำมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และด้วยความอุดมสมบูรณ์ของผลไม้นานาพันธุ์อยู่บนพื้นที่ ที่เต็มไปด้วยภูเขาของเมืองลับแลนี้เอง ทำให้เกิดคำพูดที่ว่า \”ภูเขากินได้\”
\”จิ๊บ\” สุภาพ ปันลาด เจ้าของสวนทุเรียนเมืองลับแล เล่าว่า \”สวนทุเรียนบนเขาปลูกแบบธรรมชาติ\” ปลูกแล้วปล่อยอาศัยน้ำจากฝน จึงเรียกว่า \”ทุเรียนเทวดาเลี้ยง\” โดยในสมัยก่อนชาวลับแลปลูกทุเรียนบนภูเขาด้วยการยิงหนังสติ๊ก ยิงส่งเมล็ดทุเรียนไปบนภูเขา รอให้เมล็ดเจริญงอกเงย เติบโตตามธรรมชาติ ดินที่ดีอยู่แล้วจะส่งเสริมให้รสชาติของผลไม้ที่นี่อร่อย มีการใส่ปุ๋ยบ้าง จากนั้นทุเรียนจะผลิดอกออกผลให้ได้เก็บกินได้ วิถีของชาวสวนลับแล บนที่ดินเดียวกันยังผสมผสานพันธุ์ผลไม้ชนิดอื่น เช่น ลองกอง, ลางสาด, มังคุด ซึ่งให้ผลผลิตตามฤดูกาลได้ทั้งปี
การขนส่งทุเรียนลงจากภูเขา ลำบากกว่าจะได้กินทุเรียนที่นี่ เนื่องจากปลูกบนภูเขาจึงมีวิธีการลำเลียงที่พิเศษและแตกต่างจากที่อื่นด้วยภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดกันมา เช่น \”การขนทุเรียนด้วยสลิง\” โดยชาวสวนเก็บผลผลิตด้วยการใช้ลวดสลิงข้ามเขาแล้วชักรอกเข่งบรรทุกทุเรียนจากเขาลูกหนึ่งมายังอีกลูกหนึ่ง และ \”การขนทุเรียนด้วยมอเตอร์ไซค์พ่วงตะกร้า\” ขี่ลัดเลาะตามภูเขา บนเส้นทางที่คับแคบ ถนนกว้างแค่ 1 2 ไม้บรรทัด แค่ล้อมอเตอร์ไซค์วิ่งผ่านได้เท่านั้น บางช่วงทางซ้ายขวาเป็นหุบเหว ในหน้าฝนจะขนลำบาก ถนนดินเละ ต้องพันโซ่ล้อมอเตอร์ไซค์ แต่คนที่นี่ไม่ว่าจะเป็น ชายหนุ่ม ชายสูงวัย หรือ หญิงสาว ก็สามารถขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นภูเขาได้หมด ซึ่งมอเตอร์ไซค์คันหนึ่งบรรทุกผลทุเรียนในตะกร้าทั้งด้านหน้าและด้านหลังเที่ยวละหลายสิบลูก จุน้ำหนักสูงสุดประมาณ 100 120 กิโลกรัม จนเกิดเป็นอาชีพรับจ้างขนทุเรียนด้วยมอเตอร์ไซค์ ซึ่งปัจจุบันราคาทุเรียนพันธุ์หลินลับแล กิโลกรัมละ 500 550 บาท พันธุ์หลงลับแล กิโลกรัมละ 350 บาท
นับเป็นความพยายามในการทำมาหากินบนพื้นที่ภูเขาสูง ที่เส้นทางลำบาก แต่ก็มีข้อดี ทำให้ได้รสชาติทุเรียน เนื้อแน่น แห้ง อร่อย เพราะดินภูเขา และยังสร้างให้เกิดอาชีพที่หลากหลายต่อยอดจากการทำสวนผลไม้อีกด้วย
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม 2564 เวลา 17.30 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง http://www.thaipbs.or.th/TheConnect
ทุเรียนลับแล ทุเรียน ซีรีส์วิถีคน

กด Subscribe
ติดตามรายการดีๆของช่อง ได้ที่ : http://thaip.bs/YSBht5j
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBS
Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS
LINE : http://www.thaipbs.or.th/AddLINE
YouTube : http://www.youtube.com/ThaiPBS

วิถี “ทุเรียนลับแล” บ้านผามูบ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ : ซีรีส์วิถีคน (10 พ.ค. 64)

ที่นี่บ้านเรา : ตาลโตนดเมืองเพชรบุรี (18 ต.ค. 60)


\”เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น
ระวังตนตีนมือระมัดมั่น
เหมือนคบคนคำหวานรำคาญครัน
ถ้าพลั้งพลันเจ็บอกเหมือนตกตาล\”
นี่เป็นบทประพันธ์ของสุนทรภู่ ใน นิราศพระบาท ที่เปรียบเปรยถึงการคบคนกับการปีนต้นตาล ซึ่งนั่นอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เห็นว่า สังคมไทยมีความเกี่ยวพันกับต้นตาล มาตั้งแต่ครั้งอดีต
ที่นี่บ้านเราพุธนี้ จะพาไปที่ จ.เพชรบุรี เพื่อไปทำความรู้จัก ต้นตาล พืชสารพัดประโยชน์ตั้งแต่ ต้น ใบ ก้าน ผลตาล ใยตาล และราก พร้อมทั้งเรียนรู้ภูมิปัญญาการใช้ส่วนต่าง ๆ ของตาลมาใช้ประโยชน์ กับคุณภาคิน ชาญสิรินรา
ติดตามในรายการที่นี่บ้านเรา ตอน ตาลโตนดเมืองเพชรบุรี วันพุธที่ 18 ตุลาคม 2560 เวลา 13.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง http://www.thaipbs.or.th/Live

กด Subscribe
ติดตามรายการดีๆของช่อง ได้ที่ : http://goo.gl/hdy2ye
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBSFan
Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS
Google Plus : www.thaipbs.or.th/GooglePlus
LINE : @ThaiPBS
Youtube : http://www.youtube.com/user/ThaiPBS

ที่นี่บ้านเรา : ตาลโตนดเมืองเพชรบุรี (18 ต.ค. 60)

ขั้นตอนการทำน้ำตาลปึกจากน้ำตาลโตนด ตำบลห้วยกรด


ขั้นตอนการทำน้ำตาลปึกจากน้ำตาลโตนด ตำบลห้วยกรด

\”ซูเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติบ้านท่าเลน\” บ้านท่าเลน ต.เขาทอง อ.เมือง จ.กระบี่ : ซีรีส์วิถีคน


\”บ้านท่าเลน\” อยู่ห่างจากตัวเมืองกระบี่ ประมาณ 30 35 กิโลเมตร ที่นี่มีธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีป่าโกงกางและป่าชายเลนรายรอบ ชาวบ้านที่นี่นับถือศาสนาอิสลามกว่า 80% และมีเรือที่เรียกว่า \”เรือหัวโทง\” เป็นดั่งแขนขาช่วยในการออกไปหากินกลางทะเล ดังนั้นทุกครั้งที่มีเรือใหม่หรือจะเอาเรือขึ้นคาน จึงมีการ \”ทำบุญเรือ\” เวลาที่นำเรือเข้ามาชายฝั่ง ก็จะผูกเรือไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นทั่วริมหาดประหนึ่งบริเวณนี้เป็นอู่จอดเรือ
ผู้ใหญ่สุชาติ สงวนสินธ์ บอกว่าที่หมู่บ้านแห่งนี้มี \”ซูเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ\” เพราะแค่ออกเรือจากหมู่บ้านมาไม่ถึง 10 นาทีก็จะเจอแหล่งเลี้ยงกุ้งมังกรตัวใหญ่หรือเพียงหย่อนเบ็ดมือลงไปไม่ถึง 10 วินาทีก็ได้ปลามากินแล้ว นอกจากนั้นที่นี่ยังคงวิถีหากินกับทะเลแบบดั้งเดิม เป็นวิถีง่าย ๆ ที่ชาวบ้านได้สืบทอดกันมานาน ซึ่งความคึกคักในการประกอบอาชีพทั้งในทะเลและริมฝั่งทะเลของชาวบ้านที่นี่ทำได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยช่วงกลางวันจะ \”ตกปลาทราย\” ด้วย \”เหยื่อรัง\” หรือไส้เดือนทะเล โดยนำเหยื่อรังเกี่ยวกับเบ็ดไม้ยาวประมาณ 2 เมตร แล้วเดินลงไปในน้ำทะเลที่หน้าหาดเพื่อยืนตกปลาทรายเพียงไม่เกิน 1 นาทีเจ้าปลาทรายก็มากินเหยื่อ นอกจากนี้ยังมีการใช้ตะขอแหลมเจาะ \”หอยติบ\” ซึ่งเกาะติดบนก้อนหินริมหาดมากมายนับล้าน ๆ ตัว
ช่วงกลางคืนการหากินจะต้องเชี่ยวชาญเป็นพิเศษโดยเฉพาะการจับกุ้ง หรือที่เรียกว่า \”โหล๊ะกุ้ง\” ชาวบ้านจะใช้ไฟที่ติดศรีษะส่องไปให้แสงไฟกระทบกับตากุ้ง หากมีกุ้งก็จะเห็นเป็นแสงวิบวับสีแดงระเรื่อแทบทั้งหาด จากนั้นใช้ฉมวกแหลมที่ทำขึ้นเองแทงไปที่ตัวกุ้งทีละตัว ก็จะได้กุ้ง ซึ่งทุกวันนี้ชาวบ้านก็ยังเดินหากุ้งด้วยวิธีแบบนี้อยู่ แต่ความพิเศษคือต้องจับช่วงข้างขึ้นตอนกลางคืนเท่านั้น เพราะต้องอาศัยธรรมชาติดูพระจันทร์ และต้องทำในช่วงข้างขึ้น เวลาหัวค่ำช่วงเวลาตั้งแต่ 1 ทุ่มและหัวรุ่งคือ ช่วงเวลา ตี 2 ตี 3 ออกเดินหาครั้งละประมาณ 2 3 ชั่วโมง ก็จะได้กุ้งจำนวนมากมาทำกินและสามารถจับกุ้งได้ตลอดทั้งปี
ชาวบ้านที่นี่บอกว่า หมู่บ้านแห่งนี้จะเติบโตอย่างยั่งยืนอย่างแน่นอน เพราะว่าคนทุกรุ่นที่ถูกสอนกันมาเรื่องการหากินด้วยวิถีพอเพียง เพื่อคนที่คนรุ่นหลังจะได้ไม่เดือดร้อนเรื่องการทำกิน
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 19 เมษายน 2564 เวลา 17.30 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง http://www.thaipbs.or.th/TheConnect
บ้านท่าเลน ซีรีส์วิถีคน

กด Subscribe
ติดตามรายการดีๆของช่อง ได้ที่ : http://shorturl.at/czXZ0
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBS
Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS
LINE : http://www.thaipbs.or.th/AddLINE
YouTube : http://www.youtube.com/ThaiPBS

\

Jaggery: การเคี่ยวน้ำตาลโตนด


This video is about Jaggery วิถีพื้นบ้าน ภูมิปัญญาการขึ้นตาล เก็บนำ้ตาลและเคี่ยวน้ำตาลโตนด เป็นอาชีพที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตชุมชนชาวสงขลามาช้านาน มันคงน่าเสียดาย ถ้าหากไม่มีใครใส่ใจเห็นคุณค่าจากต้นตาล ได้น้ำตาลสด เคี่ยวอีกหลายชัวโมง กว่าจะได้น้ำผึ้งเหลว ก่อนจะเปรรูปอีกครั้งเป็นน้ำตาลแว่น

Jaggery: การเคี่ยวน้ำตาลโตนด

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่CUISINE

Leave a Comment