รัชกาลที่ 5 : ยุวกษัตริย์สยาม (ตอนที่ 1) | ร.5 สวรรคต

รัชกาลที่ 5 : ยุวกษัตริย์สยาม (ตอนที่ 1)


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

\”อย่างคนสำคัญอีกคนหนึ่ง เป็นคนอังกฤษ คนนี้ท่านจ้างมาเป็นพระอาจารย์สมเด็จพระบรมองค์แรก คนนี้เป็นคนอังกฤษที่เก่งมาก จบจาก Winchester และ Oxford ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งก็ถือว่าเก่งมากแล้ว
.
\”ที่จริงกรมพระนเรศเอามาเพื่อจะเป็นอาจารย์สอนลูกท่าน ท่านกลับจากอังกฤษ ท่านเห็นว่าเก่งเลยจะให้ไปสอนลูกท่าน ทีหลังก็ทะเลาะกับท่าน (ร.๕) Morant เห็นว่าไม่ควรที่จะซื้ออาวุธ สู้มันไม่ได้หรอก… ท่านปฏิเสธ เพราะตอนนั้นท่านเป็นใหญ่ ท่านเอาชนะสมเด็จเจ้าพระยาได้แล้วฯ\”
.
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสวยราชย์เมื่อพระชนมายุเพียง 15 พรรษา ต้องประสบกับสถานการณ์ยากลำบากมากมาย อะไรนำพาให้พระองค์ทรงฝ่าวิกฤตเหล่านั้นมาได้ ในคลิปนี้เราชวน ส. ศิวรักษ์ คุยถึงความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้นในรัชกาลนี้ พร้อมย้อนกลับไปถึงที่พึ่งหรือผู้ที่มีอิทธิพลต่อพระองค์ท่านในทัศนะของ ส. ศิวรักษ์
.
ร่วมรำลึกในวาระ 168 ปีแห่งวันพระบรมราชสมภพของสมเด็จพระปิยมหาราชพระองค์นั้น (20 กันยายน 23962564)
ร5 รัชกาลที่5 ปิยะมหาราช

สมัครเป็นสมาชิกของช่องนี้เพื่อเข้าถึงสิทธิพิเศษต่างๆ
https://www.youtube.com/channel/UChB3qJ0Yo9rwd9pjhBIaNrA/join

สนับสนุน พวกเรา \”Dhanadis ธนดิศ\” (ทีมแอดมินเพจอาจารย์สุลักษณ์) ให้ทำคอนเทนต์สาระความรู้ทางประวัติศาสตร์จากมุขปาฐะของอาจารย์สุลักษณ์ ได้ที่
ธนาคาร : กรุงศรีอยุธยา
เลขบัญชี : 0007140300
ชื่อบัญชี : ธนากร ทองแดง

ผลิตโดย ธนดิศ ([email protected] / 0898064081)
LINE: taotanagon

รัชกาลที่ 5 : ยุวกษัตริย์สยาม (ตอนที่ 1)

10 เครื่องเสวยที่ทรงโปรด ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 (จะตั้งเครื่องถวาย ต้องดู)


ขอบคุณที่มา : จาก fb: นิทรรศการพลังแผ่นดิน อัศจรรย์งานศิลป์ แผ่นดินสยาม
facebook : https://www.facebook.com/SPStoryChannel2024850000902047 เชิญติดตามข่าวสารอื่น ๆ และพูดคุยทักทายกับเราได้ครับ

10 เครื่องเสวยที่ทรงโปรด ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 (จะตั้งเครื่องถวาย ต้องดู)

การประชวร รัชกาลที่5 และ ภาพยนตร์วันพระราชทานเพลิงพระบรมศพ


รัชกาลที่5 พระราชทานเพลิงพระบรมศพ พูนพิสมัย
❤️ เพื่อเป็นแรงสนับสนุน 👇👇 กดลิงค์ได้เลย
ไปซื้อ 😃 ไลน์สติกเกอร์น้องแมน https://line.me/S/sticker/1773533
สั่งซื้อ 😃 สินค้า KanaLab https://www.redbubble.com/shop/ap/71726572?asc=u
โดเนททุน 😃 ผ่าน link https://paypal.me/kanalab/
https://www.youtube.com/c/KANALAB
เป็นช่องหนังสือเสียง รวบรวมความรู้
เรื่องเล่าทางโบราณ ประวัติศาสตร์
จากหนังสือ เรื่องเล่า ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
หวังให้ฟังง่าย ได้ประโยชน์แบบเพลินๆ
เพื่อไม่ให้เรื่องราวเหล่านี้สูญหายไป
ขอบคุณทุกแหล่งที่มาของข้อมูล
…………………………………………
อ้างอิงข้อมูล : หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
https://www.youtube.com/FilmArchiveThailand
https://www.fapot.or.th/
https://www.facebook.com/ThaiFilmArchivePage
หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
94 หมู่ 3 ถ.พุทธมณฑลสาย 5
ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล
จ.นครปฐม 73170
โทรศัพท์ 024822013 14 ต่อ 111
โทรสาร 024822015
Film Archive (Public Organization)
94 Moo 3 Phuttamonthon Sai 5 Road,
Salaya, Phuttamonthon
Nakornpathom 73170 Thailand
Tel +6624822013 Ext 111
Fax +6624822015
…………………………………………
…………………………………………………..
ขอขอบคุณครับ
ทีมงาน Kana Laboratory

การประชวร รัชกาลที่5 และ ภาพยนตร์วันพระราชทานเพลิงพระบรมศพ

การแตะต้องพระบรมศพ ร.๘ (ข้อสันนิษฐาน)


ที่มา https://www.facebook.com/kungwal.bu/posts/1531634760249856

การแตะต้องพระบรมศพ ร.๘ (ข้อสันนิษฐาน)

งานพระบรมศพพระพุทธเจ้าหลวง 2453


ฟิล์ม ๓๕ มม. / ขาวดำ / เงียบ / ๒.๒๗ นาที
๒๔๕๓
ผู้สร้าง Pathé Frères The Japanese Film (Japan)
ภาพยนตร์ข่าวบันทึกพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ ระบุชื่อบริษัทผู้สร้างว่า The Japanese Film และมีคำบรรยายเป็นภาษาเยอรมัน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภาพยนตร์เรื่อง “ขบวนแห่พระบรมศพพระพุทธเจ้าหลวง (The funeral procession of the late King of Siam)” ของโรงหนังญี่ปุ่นหลวง (The Royal Japanese Cinematograph) ซึ่งเป็นโรงหนังถาวรโรงแรกของสยาม ทางโรงมีช่างถ่ายหนังของตนเอง มีหลักฐานแจ้งความในหนังสือพิมพ์บางกอกไทมส์ว่า โรงหนังญี่ปุ่นหลวงได้ถ่ายหนังข่าวเรื่องดังกล่าวและนำออกฉายที่โรงของตน ในเดือนมิถุนายน ๒๔๕๔ และคงจะมีการจำหน่ายให้บริษัทหนังในต่างประเทศด้วย โดย ชลิดา เอื้อบำรุงจิต ในขณะดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ได้ไปศึกษาค้นคว้าและพบภาพยนตร์นี้ในห้องสมุดภาพยนตร์ของพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ EYE Film Museum ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อพ.ศ. ๒๕๖๐ จึงได้ขอทำสำเนาเพื่อมาจัดเก็บที่ไว้หอภาพยนตร์
สิ่งที่ปรากฏอยู่ในหนังข่าวเรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ การก่อสร้างพระเมรุ ซึ่งออกแบบและสร้างโดยกรมโยธาธิการ โดยมีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นผู้กำกับดูแล มีเจ้าหน้าที่สำนักช่างสิบหมู่เป็นช่างเขียนและช่างสลัก นับเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างพระเมรุแบบใหม่ของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสร้างเป็นพระเมรุน้อยทรงบุษบก ล้อมด้วยเมรุรายสี่ทิศ ค่อยๆ ลดรูปเป็นคดซ่างระเบียง ทับเกษตร ซึ่งแต่เดิมในสมัยรัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๔ จะเป็นแบบพระเมรุทรงปราสาท คือมีโครงสร้างใหญ่โตอย่างปราสาท และสร้างเรือนบุษบกบัลลังก์หรือเมรุทองซ้อนอยู่ภายใน การเปลี่ยนแปลงการสร้างพระเมรุมาศนี้เกิดจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับเปลี่ยนนโยบายต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในห้วงเวลานั้น รวมถึงแนวคิดเรื่องพระราชพิธีพระบรมศพที่มีพระราชประสงค์ให้ก่อสร้างพระเมรุไม่ยิ่งใหญ่อย่างแต่ก่อน
ถัดมาคือวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๕๓ เป็นภาพพระราชพิธีอันเชิญพระบรมศพขึ้นประดิษฐานในบุษบกพระมหาพิไชยราชรถ หลังจากอันเชิญพระบรมศพออกจากพระบรมมหาราชวังมายังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร โดยมีพระยาโกษา พระยาเทพาภรณ์ เจ้าพนักงานภูษามาลาทั้ง ๒ ขึ้นประคองพระบรมโกษฐ ตั้งริ้วขบวนเป็นพยุหยาตรา ประกอบด้วยเครื่องเฉลิมพระเกียรติยศ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ขึ้นราชรถทรงอ่านพระอภิธรรม ตั้งริ้วเป็นขบวนพยุหยาตราแห่ขบวนพระบรมศพสู่พระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ดำเนินตามพระบรมศพในขบวนตอนที่ ๑ และอัครราชทูตผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ ผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ เสนาบดี เจ้าพระยาเจ้าประเทศราช ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ตามพระบรมศพในขบวนตอนที่ ๒ และขบวนข้าราชการกระทรวงอื่นๆ รวม ๑๓ ตอน
และเหตุการณ์สุดท้าย เป็นภาพพระราชพิธีการอัญเชิญพระบรมศพขึ้นสู่พระเมรุมาศ หลังจากเวียนพระเมรุอุตราวัฏ ๓ รอบแล้ว และเมื่อพระมหาพิชัยราชรถประทับหน้าพลับพลา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นประทับบนชาลาฐานพระเมรุมาศ พระยาเทพาภรณ์ได้อัญเชิญพระบรมศพสู่พระเมรุมาศเกรินขึ้นบันไดนาคสู่พระเมรุทอง เมื่อถึงชั้นพระเมรุแล้วจึงปิดพระวิสูตร จากนั้นภาพตัดมาที่พสกนิกรนุ่งขาวห่มขาวมาเข้าเฝ้าสักการะพระบรมศพและน้อมส่งเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง
แม้ภาพยนตร์นี้จะบันทึกเหตุการณ์พระราชพิธีไว้เพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็เป็นบทบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าและความสำคัญยิ่งต่อคนไทย เพราะนับเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่บันทึกเหตุการณ์พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระเจ้าแผ่นดินสยาม การบันทึกภาพเคลื่อนไหวนี้ ได้เปลี่ยนกระบวนการการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ เป็นการยืนยันเหตุการณ์อันสำคัญทางประวัติศาสตร์ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือการที่ภาพยนตร์ชุดนี้ได้บอกเล่ารายละเอียดแวดล้อมเหตุการณ์ดังกล่าว อันเป็นประโยชน์ในการต่อยอดทางการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ให้กับสังคมสืบไป
หมายเหตุ
ชื่อเรื่องที่อยู่ใน [ … ] หมายถึง ภาพยนตร์เรื่องนั้นไม่มีไตเติ้ลชื่อเรื่องปรากฏอยู่ในภาพยนตร์เป็นชื่อที่หอภาพยนตร์ตั้งขึ้นเอง
ที่มาของภาพยนตร์ : EYE Film Museum www.eyefilm.nl

งานพระบรมศพพระพุทธเจ้าหลวง 2453

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่OUTDOOR

Leave a Comment