Contents
BS NEWS กิจกรรมวันมาฆบูชา
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม
วันมาฆบูชา ข้อควรปฏิบัติ 4 ข้อ
‘วันมาฆบูชา’ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของเราชาวพุทธ 4 ข้อที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา หรือวันพระใหญ่มาฝากกันในฉบับง่ายๆ เรียกว่าทำแล้วได้บุญ แถมดีต่อตัวเองอีกด้วย
1. การทำบุญตักบาตรในช่วงเช้า
เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค อาหาร สดแห้ง ครบหลักอนามัย หรือโภชนาการ ครบ 5 หมู่ จะทำให้เรามีจิตใจที่สดชื่น สบายใจ มีความเมตตา โอบอ้อมอารี ก็จะส่งผลให้ชีวิตเราดีขึ้น
2.การอยู่ในศีล 5 หรือ ศีล 8
เชื่อได้ว่า ข้อนี้ หลายคนอาจจะรู้จักเพียง ศีล 5 อย่างเดียว แต่หากยังมี ศีล 8 ให้ทุกคนได้ปฏิบัติตามเพิ่มได้อีก 3 ข้อ ก็จะดีต่อตัวเรา โดยศีล 5 เราถือมาตลอด บางคนทำได้ทุกข้อ แต่บางคนก็ไม่สามารถทำได้หมด ซึ่งมีดังนี้
ข้อที่ 1 คือ ห้ามฆ่าสัตว์
ข้อที่ 2 คือ ห้ามลักทรัพย์
ข้อที่ 3 คือ ห้ามประพฤติผิดในกาม
ข้อที่ 4 คือ ห้ามพูดเท็จ
ข้อที่ 5 คือ ห้ามดื่มสุรา
และศีล 8 เพิ่มมาอีก 3 มีดังนี้
ข้อที่ 6. ไม่บริโภคอาหารในยามวิกาล (หลังเที่ยงถึงก่อนพระอาทิตย์ขึ้นในอีกวัน)
ข้อที่ 7. ไม่ฟ้อนรำทำเพลง แสดงกิริยารื่นเริง รวมถึงละเว้นจากการแต่งสวยแต่งงามให้ร่างกาย
ข้อที่ 8. ไม่นั่งหรือนอนบนที่นั่งหรือที่นอนที่ทำให้นุ่ม และสูงจากพื้น
หากทุกคนปฏิบัติครบได้ในวันนี้ ก็จะทำให้ชีวิตของเรามีแต่ความสุข สงบ สบายใจ
3.การฟังเทศน์ฟังธรรม หรือนั่งสมาธิ
ในข้อนี้ เราสามารถทำได้ง่าย ๆ จะทำที่บ้าน หรือไปฟังที่วัดก็ได้เช่นกัน ไม่ว่าวิธีไหนก็ได้บุญ สำหรับการฟังธรรมแล้วนั้น ทำให้เรามีสติในการใช้ชีวิต ไม่ประมาท มีจิตใจที่จดจ่อกับสิ่งๆ นั้นที่เราทำอยู่ ทำให้เราไม่คาดหวังอะไรหลายๆ อย่าง ทำให้รู้จักการปล่อยวาง สามารถใช้ชีวิตได้ดี
4. การเวียนเทียน
เชื่อว่าข้อนี้ ถือเป็นข้อปฏิบัติยอดฮิตที่หลายคนคงปฏิบัติมา โดยการเวียนเทียน จะเกิดขึ้นในช่วงของวันมาฆบูชา ในเวลา 2 ทุ่ม จะต้องเตรียมดอกไม้และธูปเทียน จะเวียนรอบพระอุโบสถจำนวน 3 รอบ ทางขวา ตามเข็มนาฬิกา บางวัดจะมีการเทศนาก่อนถึงจะเวียนเทียน หลังจากครบ 3 รอบแล้ว ก็จะเข้ามากราบพระในอุโบสถ เป็นอันเสร็จพิธี
_____________________________________________
‘Makha Puja Day’ important Buddhist day for us, 4 Buddhists should practice on Makha Bucha Day. Or on the Big Buddha Day to leave each other in a simple issue Called to do it and get merit. Plus good for yourself as well
1. Making merit in the morning
Prepare food utensils, fresh, dry food, complete the principles of hygiene or complete nutrition, 5 groups will give us a refreshed mind, comfort, compassion, and generosity, it will result in a better life.
2. To be in the 5th precepts or the 8th precept.
It is believed that many people may know only the 5 precepts, but if there is still the 8 precepts for everyone to follow, the other 3 will be good for us by the 5 precepts we hold all the time. But some people can’t do it all, which is as follows
No. 1 is to not kill animals.
Article 2 is prohibited to steal.
Number 3 is forbidden from misconduct in sexual relations.
Number 4 is not to lie.
Number 5 is no alcohol.
And three additional 8 precepts are as follows
Article 6. Do not consume food during the night. (After noon until sunrise the other day)
Article 7. Do not dance and make music. Show off Including refraining from dressing up beautiful and beautiful for the body
Article 8. Do not sit or lie on seats or mattresses that make it soft. And high off the ground
If everyone can do it all today Will make our lives full of happiness and peace
3. Listening to sermons, listening to dharma Or meditate
In this section we can easily do it at home or listen to the temple as well. Either way is merit For listening to the dharma Making us conscious in life, not careless, having a mind that concentrates on things That we are doing Making us do not expect a lot of things, making it known to let go Able to live well
4. Circulation
Believe this verse It is a popular practice that many people would follow. By circulating Will occur during the day of Makha Puja at 2 pm must prepare flowers and incense candles. Will circulate around the temple, 3 times on the right, clockwise Some temples will have a sermon before they circulate, after the completion of 3 rounds, they will come to worship in the temple. Finished the ceremony
เพลง วันมาฆบูชา (ภาพใหม่จากพุทธศิลป์ – เนื่องในวาระ 50 ปี วัดพระธรรมกาย)
เพลง : วันมาฆบูชา (ภาพใหม่จากพุทธศิลป์ เนื่องในวาระ 50 ปี วัดพระธรรมกาย)
คำร้อง : ธรรมรักษ์
ทำนอง/เรียบเรียง : ปัญจสิขะ
ขับร้อง : ปัญจสิขะ
ภาพ : พุทธศิลป์
ใช้เฉพาะในการสอนศีลธรรม
เนื้อเพลง :
มาฆบูชาวันที่พระบรมศาสดา
ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
แก่เหล่าพระอรหันต์ 1,250 องค์
ผู้ทรงอภิญญา
ล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ที่มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
ณ เวฬุวันมหาวิหาร
ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 3
เดือนเพ็ญ พระจันทร์ลอยเด่นเจิดจ้า
นบองค์พระศาสดา
วันมาฆปุณณมี
น้อมดวงใจส่งถึงพระชินสีห์
ล่วงกาลผ่านไปสองพันกว่าปี
โลกนี้ร่มเย็นเรื่อยมา
พระพุทธองค์ได้ทรงประทานโอวาท
เป็นหลักพระศาสน์แก่เหล่าพระอรหันต์
พันสองร้อยห้าสิบองค์ ผู้ทรงอภิญญา
ล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา
มารวมกันโดยมิได้นัดหมาย
ณ เวฬุวัน ยามบ่าย
ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
ทรงมุ่งดับทุกข์โศก แด่ชาวโลกทั้งหลาย
เพื่อเป้าหมายสู่พระนิพพาน
มาฆบูชา
มหาสมาคมใหญ่ พุทธบริษัทรวมใจ
จุดโคมประทีปถวาย
มาฆบูชา
มหาสมาคมใหญ่ พุทธบริษัทรวมใจ
ปฏิบัติธรรมถวาย
จุดโคมประทีปถวายเป็นพุทธบูชา
ปฏิบัติธรรมถวายเป็นพุทธบูชา
🌟ร่วมทำบุญโดยโอนเข้าบัญชีวัดพระธรรมกาย ธนาคารกรุงไทย สาขาตลาดไท เลขบัญชี 1521202087
หากต้องการใบอนุโมทนาบัตร ให้นำสลิปการโอนหรือพิมพ์สำเนาสลิปมาขอออกใบอนุโมทนาบัตรที่ห้องรับบริจาค หรือโทร. 028311000
🌟รับธรรมะดี ๆ ที่เป็นประโยชน์และเป็นกำลังใจในการปฏิบัติธรรม เพื่อให้เข้าถึงความสุขภายในได้ที่นี่
⚡️Line
http://line.me/ti/p/%40jai.yut.24nor
⚡️Facebook
https://www.facebook.com/jai.yut.24nor.fanpage
⚡️YouTube
http://www.youtube.com/c/ใจหยุด24น
⚡️Instagram
https://www.instagram.com/jaiyut24nor
⚡️Twitter
https://twitter.com/jaiyut24nor
⚡️Pinterest
https://www.pinterest.com/jaiyut24nor/
⚡️Spotify
https://spoti.fi/2QN4JH4
⚡️Apple Podcasts
https://apple.co/36POqif
⚡️JOOX
https://joox.page.link/KFuyBi
⚡️TikTok
https://vt.tiktok.com/RUc5gt/
⚡️Blockdit
https://www.blockdit.com/jaiyut24nor
⚡️Google Maps
https://goo.gl/maps/izFDoH6koHxwAnxu9
วัดพระธรรมกาย ธรรมะ ธรรมกาย เพลง
โอวาทปาฏิโมกข์ – มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ 1 @ พุทธทาสภิกขุ
รวบรวมวีดีโอในช่อง https://www.youtube.com/user/kancha085/videos เชิญติดตามธรรมะ
ประวัติท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ
พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. พุทธศักราช 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ท่านได้ตัดสินใจมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านพร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด
ท่านพุทธทาสภิกขุมีนามเดิมว่า เงื่อม พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย หรือวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. พุทธศักราช 2449 ในสกุลของพ่อค้า ที่ตลาดพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นพุมเรียงยังเป็นที่ตั้งของตัวเมืองไชยา หรือจังหวัดไชยา ก่อนที่จะกลายมาเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ เซี้ยง พานิช ประกอบอาชีพหลักคือการค้าขายของชำ บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุมีเชื้อสายจีน เนื่องจากปู่ของท่านพุทธทาสภิกขุอพยพจากมณฑลฝูเจี้ยนในประเทศจีน มาเป็นช่างเขียนภาพสีบนกระจกที่เมืองไชยา ย่าของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อส้มจีน ซึ่งเชื้อสายของย่าอพยพจากอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาอยู่เมืองไชยาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมบิดาของท่านพุทธทาสภิกขุใช้แซ่โข่วหรือข่อ (หรือโค้ว ในภาษาแต้จิ๋ว) ต่อมาเมื่อมีพระราชบัญญัตินามสกุลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางราชการจึงเปลี่ยนนามสกุลของบิดาท่านเป็น พานิช เพราะตอนนั้นมีเพียงครอบครัวของท่านเท่านั้นที่ทำการค้าขาย งานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดาท่านพุทธทาสภิกขุคืองานด้านช่างไม้ โดยในเวลาว่าง บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุจะทำการต่อเรือไม้เป็นอาชีพเสริม ซึ่งทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุสนใจ และชอบในงานด้านนี้ไปด้วย แม้ที่สวนโมกขพลาราม งานไม้ส่วนใหญ่ก็เกิดจากการทำกันเองของคณะสงฆ์ นอกจากนี้ บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีความสามารถในทางกวี ซึ่งความสามารถด้านนี้ส่งอิทธิพลต่อท่านพุทธทาสภิกขุเป็นอย่างมาก โดยผลงานธรรมะของท่านพุทธทาสภิกขุส่วนหนึ่งได้ประพันธ์ไว้ในรูปร้อยกรอง ซึ่งมีความไพเราะ และดึงดูดใจให้คนทั้งหลายเข้าถึงเนื้อหาธรรมะได้ง่ายขึ้น
มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ เคลื่อน พานิช เกิดที่อำเภอท่าฉาง ตาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อเล่ง มียศเป็นขุนสิทธิสาร ปกครองหัวเมืองกระแดะ หรืออำเภอกาญจนดิษฐ์ในปัจจุบัน ครอบครัวของตายายมีความมั่นคงในพระพุทธศาสนา และมีการปฏิบัติสมาธิภาวนากันภายในบ้านเรือน ทำให้มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาตั้งแต่เด็ก ซึ่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนานี้ได้ส่งต่อมาที่บุตร และหล่อหลอมให้เด็กชายเงื่อม พานิช กลายเป็นท่านพุทธทาสภิกขุในเวลาต่อมา ท่านพุทธทาสภิกขุมีน้องสองคน ซึ่งมีอายุห่างจากท่านพุทธทาสภิกขุ 3 ปี และ 6 ปี ตามลำดับ น้องคนโตเป็นชาย ชื่อ ยี่เกย พานิช ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธรรมทาส พานิช และได้เป็นกำลังหลักของคณะธรรมทานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา และสนองงานของท่านพุทธทาสภิกขุ ส่วนน้องสาวคนสุดท้องของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ กิมซ้อย พานิช ซึ่งภายหลังแต่งงานไปอยู่บ้านดอน และใช้นามสกุลสามีว่า เหมะกุล
ท่านพุทธทาสภิกขุได้บวชเรียนตามประเพณี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. พุทธศักราช 2469 ที่โรงอุโบสถวัดอุบล หรือวัดนอก ก่อนจะย้ายมาประจำอยู่ที่วัดพุมเรียง มีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) รองเจ้าคณะเมืองในสมัยนั้น และมีพระปลัดทุ่ม อินทโชโต เจ้าอาวาสวัดอุบล และ พระครูศักดิ์ ธมฺรกฺขิตฺโต เจ้าอาวาสวัดวินัย หรือวัดหัวคู เป็นพระคู่สวด ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับฉายาว่า อินทปญฺโญ ซึ่งแปลว่าผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่
ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และยังมีผลงานอื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วนซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อชนรุ่นหลังในการศึกษาศาสนาพุทธเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ท่านยังเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ และท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์
พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. พุทธศักราช 2536 สิริรวมอายุ 87 ปี 67 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่านให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่านรับมรดกความเป็น \”พุทธทาส\” เพื่อพุทธทาสจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนา
ขอขอบพระคุณแหล่งธรรมะ http://www.buddhadasa.org/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B8.html
http://www.e4thai.com/e4e/index.php?option=com_content\u0026view=article\u0026id=1922:20140902091657\u0026catid=60\u0026Itemid=124
ถ้าหากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขอโทษขออภัยแก่ผู้รับฟังด้วย และขอน้อมรับการปรับปรุงแก้ไขทุกประการ ฟังธรรมที่ท่านสนใจhttps://www.youtube.com/user/kancha085
เตรียมจัดกิจกรรมวันมาฆบูชา 2560
นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่TECHNOLOGY