Contents
ฉีดแล้วนะ #ศูนย์ฉีดวัคซีน โควิด 2019 โรงพยาบาลศรีธัญญา
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่
ฉีดแล้วนะชิโนแวค ศูนย์ฉีดโรงพยาบาลศรีธัญญา ขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์อย่างใจจริง
Defibrillator การใช้งานและบำรุงรักษา โรงพยาบาลศรีธัญญา
Defibrillator การใช้งานและบำรุงรักษา โรงพยาบาลศรีธัญญา
ขั้นตอนการใช้งานและวิธีรักษาอุปกรณ์ที่ถูกต้อง
แนะนำโดยทีม CPR ของโรงพยาบาลศรีธัญญา
รพ.ศรีธัญญา แบกรับภาระดูแลผู้ป่วยจิตเวชยากไร้-เรื้อรัง ซ้ำป่วยโควิด-19
การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19 ระยะที่ 1 ตามแผนการฉีดวัคซีนของประเทศไทย โดยเริ่มฉีดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขด่านหน้า ทั้งรัฐและเอกชน และต่อมาประชาชนกลุ่มเสี่ยง จุดให้บริการอีกหนึ่งจุด ในกรุงเทพมหานครคือ ‘โรงพยาบาลศรีธัญญา’ ที่ตอนนี้เปิดรับฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า มาได้ 2 สัปดาห์แล้ว โดยจุดนี้เปิดขึ้นมาเพื่อแบ่งเบาภาระ และจำนวนคนที่ไปฉีดวัคซีน ที่สถาบันบําราชนาดูร
ผู้สื่อข่าวได้มีโอกาสได้พูดคุยกับ นายแพทย์ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีธัญญา ทำให้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่า นอกจากที่นี่จะเปิดเป็นจุดให้บริการในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโควิด19 เป็นจุดให้บริการการฉีดวัคซีนโควิด19 แล้ว ทางโรงพยาบาลยังรับหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ที่เป็นผู้ป่วยยากไร้ และเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่ติดเชื้อโควิด19ด้วย
โดยนายแพทย์ศิริศักดิ์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่มีสถานการณ์โควิดระบาดเกิดขึ้น ทางโรงพยาบาลได้รับตัวผู้ป่วยจิตเวช ที่เป็นผู้ป่วยยากไร้ เป็นคนเร่ร่อน ไร้บ้าน ไม่มีบัตรประชาชน ไม่มีสิทธิ์การรักษาใดๆ เข้ามารับการรักษา รวมไปถึงยังเปิดแผนกรักษาคนไข้จิตเวช ที่ป่วยเป็นโควิด19 เพิ่มขึ้นมา โดยแยกกับผู้ป่วยจิตเวชทั่วไป ชื่อว่า ‘Cohort Ward’ (แผนกโคฮอท) เนื่องจากโรงพยาบาลทั่วไป รวมไปถึงโรงพยาบาลสนาม และโรงพยาบาลบุษราคัม ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยโควิดที่มีอาการทางด้านจิตเวชได้
โดยเฉพาะผู้ป่วยยากไร้ – ผู้ป่วยเรื้อรัง ไม่มีบัตรประชาชน ไม่สามารถใช้สิทธิ์เบิก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ได้ ตอนนี้มีอยู่ประมาณ 100 คน ขณะที่ผู้ป่วยจิตเวชที่ติดเชื้อโควิด19 มีรักษาตัวอยู่ประมาณ 20 คน ทุกวันนี้ทางโรงพยาบาลศรีธัญญา ได้ใช้งบประมาณจากมูลนิธิโรงพยาบาลศรีธัญญา ที่ได้รับจากการบริจาค มาดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ ทั้งค่าอาหาร ค่ายา ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น
เนื่องจากงบประมาณที่ได้มาในแต่ละปี ไม่มีงบสำหรับคนไข้จิตเวชเหล่านี้ (เรียกแบบชาวบ้านก็คือ “หนี้เป็นศูนย์”) และทุกวันนี้ พอเปิดจุดให้บริการทางด้านโควิด19 ไม่ว่าจะเป็นหน่วยคัดกรองเชื้อไวรัส –หน่วยฉีดวัคซีน ทางโรงพยาบาลเอง ก็ต้องใช้เงินในมูลนิธิฯ มาเป็นค่าอาหาร ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มาปฏิบัติหน้าที่ตรวจรักษา และฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่มาใช้บริการด้วย เพราะไม่ได้มีงบประมาณลงมา
ทั้งนี้โครงการเรื่องเล่าแบ่งปัน ที่เกิดขึ้น นอกจากจะให้ความช่วยเหลือพี่น้องชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด19 แล้ว พอเราทราบข่าวนี้จากท่าน ผอ.โรงพยาบาลศรีธัญญา เราก็อยากจะเป็นอีกหนึ่งแรงใจ ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยจิตเวชยากไร้ ด้วยการส่งข้าวที่เป็นเงินบริจาคจากประชาชนคนไทย ไปช่วยเหลือด่านหน้าของเรา และผู้ป่วยจิตเวชที่ยากไร้ ที่บางคนก็ติดเชื้อโควิด19 หรือผู้มีจิตศรัทธา อยากจะร่วมบริจาคเพื่อสมทบทุนให้กับ มูลนิธิโรงพยาบาลศรีธัญญา โดยตรงได้เช่นกัน
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : https://ch3plus.com/news/program/241688
เรื่องเล่าเช้านี้ (Morning News)
วันที่ 20 พฤษภาคม 2564
ติดตามความเคลื่อนไหวข่าวสารก่อนใครได้ที่นี่
ch3plus : https://ch3plus.com/news/programs/mor…
facebook : https://www.facebook.com/MorningNewsTV3
Twitter : https://twitter.com/MorningNewsTV3
YouTube : https://cutt.ly/MorningnewsTV3
การประเมินสภาพจิตและการแปลผล
ศูนย์บำบัดรักษาด้วยไฟฟ้า\u0026ศูนย์ฝึกซ้อมการช่วยฟื้นคืนชีพ โรงพยาบาลศรีธัญญา
ศูนย์บำบัดรักษาด้วยไฟฟ้า\u0026ศูนย์ฝึกซ้อมการช่วยฟื้นคืนชีพ โรงพยาบาลศรีธัญญา
มารู้จักศูนย์บำบัดรักษาด้วยไฟฟ้ากันเถอะ
บริการดุจญาติมิตรทุกชีวิตปลอดภัย
นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆTECHNOLOGY