Hidden Ayutthaya : ไขปริศนา วัดพระยาพระคลัง ตอนที่ 3 เส้นทางสู่วัด จากแผนที่ฉบับหมอแกมป์เฟอร์ | โรงแรม เป็น หนึ่ง นครสวรรค์

Hidden Ayutthaya : ไขปริศนา วัดพระยาพระคลัง ตอนที่ 3 เส้นทางสู่วัด จากแผนที่ฉบับหมอแกมป์เฟอร์


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

มาถึงบทสรุปของวัดพระยาพระคลัง ว่าแท้จริงแล้ว ตรงกับวัดอะไรในปัจจุบัน..
ในตอนนี้ผมจะใช้แผนที่กรุงศรีอยุธยาฉบับหมอแกมป์เฟอร์ เป็นเข็มทิศนำทางไปสู่การสำรวจภูมิสถานในจุดต่างๆ ที่ยังเหลืออยู่เพียงน้อยนิดในปัจจุบัน แต่มันก็เพียงพอที่จะนำมาประกอบร่างกันจนได้ภาพที่ใกล้เคียงที่สุดกับที่ปรากฏในภาพสเก็ตแผนที่ของคณะสำรวจจากฮอลันดาฉบับนี้
ติดตามคลิปย้อนหลังการสำรวจ
ตอนที่ 1 ภาพสเก็ตแผนผัง (วัดสมณโกฎฐารามวัดกุฎีดาว)
https://www.youtube.com/watch?v=6gjmFyFwiM\u0026t=160s
ตอนที่ 2 ภาพสเก็ตแผนผัง (วัดโบสถ์ราชเดชะ วัดอโยธยา)
https://www.youtube.com/watch?v=HFhoL_gEOOI\u0026t=1s
ขอขอบคุณ
1. คุณสุรเจตต์ เนื่องอัมพร ผู้จุดประกายการสำรวจเรื่องนี้ให้กับผม ทั้งยังเอื้อเฟื้อภาพสเก็ตแผนผังวัดพระยาพระคลัง และภาพสเก็ตส่วนประกอบของอาคารต่างๆ ให้ได้นำมาศึกษา
2. คุณสุวพล สุวนิช หรือพี่หนุ่ม รัตนะ แอดมินร่วมเพจกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ที่เอื้อเฟื้อภาพสเก็ตแผนที่กรุงศรีอยุธยาฉบับหมอแกมป์เฟอร์ทุกเวอร์ชั่น ที่สำเนาจาก The British Library ประเทศอังกฤษ และภาพถ่ายทางอากาศของวิลเลียม ฮันท์ ปี พ.ศ.2489 ซึ่งเป็นหนึ่งในกุญแจของการไขปริศนาในครั้งนี้
3. ดร. ฉันทัส เพียรธรรม จากยูทูปช่อง เสียงสะท้อนอดีต ที่เอื้อเฟื้อฟุตเทจมุมโดรนเหนือโคกวัดประดู่ให้นำมาใช้ประกอบในคลิปนี้
และขอบคุณทุกๆ คนที่ติดตามรับชมกันมาจนถึงตอนนี้ครับ
ติดตามเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่ซ่อนเร้นในสถานที่ต่าง ๆ ของพระนครศรีอยุธยา
ในรายการ Hidden Ayutthaya ฝากกดติดตาม กดlike กดแชร์ กดกระดิ่ง เพื่อติดตามตอนต่อๆ ไปของรายการ และพูดคุยแสดงความคิดเห็นกันได้ครับ
โกษาปาน วัดประดู่ทรงธรรม กรุงศรีอยุธยา อยุธยา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี โบราณสถาน วัด วัดร้าง พระนครศรีอยุธยา HiddenAyutthaya Ayutthaya Temple History Thailand แม่น้ำเจ้าพระยา ไทยรบพม่า ปืนใหญ่ ค่ายพม่า สงครามคราวเสียกรุง กรุงเก่า กรุงแตก 2310 ๒๓๑๐ กระสุนปืนใหญ่ จารึก สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระนารายณ์ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ ฟอลคอน คอนสแตนตินฟอลคอน โบสถ์ ศาสนสถาน สุสาน หลุมศพ แม่น้ำ พระยาพระคลัง วัดสมณโกฎฐาราม วัดกุฎีดาว พระยาพระคลัง เจ้าแม่วัดดุสิต สมเด็จพระเพทราชา เจ้าพระยาพระคลัง วัดโกษาวาส โกษาเหล็ก แกมป์เฟอร์ แผนที่ แผนผัง ภาพสเก็ต ฮอลันดา วัดโบสถ์ราชเดชะ วัดอโยธยา เจดีย์ พระปรางค์ ขุนหลวงหาวัด

Hidden Ayutthaya : ไขปริศนา วัดพระยาพระคลัง ตอนที่ 3 เส้นทางสู่วัด จากแผนที่ฉบับหมอแกมป์เฟอร์

เมืองนครสวรรค์


เมืองนครสวรรค์
นครสวรรค์เป็นเมืองโบราณซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีปรากฏชื่อในศิลาจารึกเรียกว่า \”เมืองพระบาง\” เป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำศึกสงครามมาทุกสมัย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ตัวเมืองดั้งเดิมตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาขาด หรือเขาฤาษี จรดวัดหัวเมือง หรือวัดนครสวรรค์ในปัจจุบัน
ต่อมาได้เป็นเมืองชอนตะวัน เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และหันหน้าเมืองไปทางแม่น้ำซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกทำให้แสงอาทิตย์ส่องเข้าหน้าเมืองตลอดเวลา แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็น เมืองนครสวรรค์ นครสวรรค์ มีชื่อเรียกเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาแต่เดิมว่า ปากน้ำโพ โดยปรากฏเรียกกันมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติศาสตร์ในคราวที่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาครั้งสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กองทัพเรือจากกรุงศรีอยุธยาได้ยกไปรับทัพข้าศึกที่ปากน้ำโพ แต่ด้านทัพข้าศึกไม่ไหว จึงล่าถอยกลับไป
ที่มาของคำว่า ปากน้ำโพ สันนิษฐานได้ 2 ประการ คือ อาจมาจากคำว่า ปากน้ำโผล่ เพราะเป็นที่ปากน้ำปิง ยม และน่าน มาโผล่รวมกันเป็น ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา หรืออีกประการหนึ่ง คือ มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่อยู่ตรงปากน้ำในบริเวณวัดโพธิ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อกวนอูในปัจจุบัน จึงเรียกกันว่า ปากน้ำโพธิ์ ก็อาจเป็นได้
มีสัญลักษณ์ประจำจังหวัด เป็นรูปวิมานอันเป็นที่สิงสถิตของเหล่าเทวดานางฟ้า ความหมายของตราประจำจังหวัด รูปวิมานซึ่งเป็นที่สถิตของชาวสวรรค์ หมายถึง ชื่อครั้งหลังสุดของจังหวัดเป็นเมืองสำคัญในการ รบทัพจับศึกตลอดมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งทำให้สถานที่ต่างๆ ไม่ว่าถนน ซอย สถานที่สำคัญ ต่างตั้งชื่อให้สอดคล้องกับที่มาของชื่อจังหวัด เช่น ถนนดาวดึงส์ ถนนสวรรค์วิถี โรงแรมพิมาน มีต้นเสลาเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดที่งามสะพรั่งทุกฤดูกาล โดยคำขวัญประจำจังหวัด คือเมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ
สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนครสวรรค์อยู่ในดินแดนของลุ่มน้ำ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายหลักของภาคกลาง นั่นคือ แม่น้ำเจ้าพระยา
อันเป็นการไหลบรรจบของแม่น้ำสี่สายจากภาคเหนือ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ด้วยเหตุนี้ จังหวัดนครสวรรค์จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เมืองสี่แคว และยังมีภูเขาขนาดย่อมกระจัดกระจายในอำเภอต่าง ๆ จังหวัดนครสวรรค์เป็นศูนย์กลางการคมนาคมในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน เพราะเป็นชุมทางของคมนาคมที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นถนน รถไฟ หรือทางน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของท่าข้าวกำนันทรงซึ่งเป็นตลาดกลางค้าข้าวแห่งแรกของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่เจริญเป็นอันดับที่ 12 ของประเทศไทย
เมื่อปี พ.ศ.2493 ได้เปิดสะพานเดชาติวงศ์ เพื่อใช้ในการคมนาคมขนส่งทางบกตามเส้นทางถนนพหลโยธิน ทำให้นครสวรรค์กลายเป็นเมืองประตูสู่ภาคเหนือ และประตูสู่ภาคกลาง ซึ่งจะมีนักเดินทางผ่านเมืองนครสวรรค์นับแสนคนต่อวัน เป็นเมืองที่ไม่เคยหลับของนักเดินทาง โดยจะมีร้านอาหารหลากหลายรูปแบบ ไว้คอยต้อนรับนักเดินทางเกือบตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งนักเดินทางจะกำหนดให้จังหวัดนครสวรรค์เป็นจุดพักรถ เพื่อพักผ่อน หรือแวะพักรับประทานอาหารเพื่อเดินทางไปสู่จุดหมายต่อไป และมีขนมของฝากอันแสนโด่งดังไปทั่วประเทศ คือขนมโมจิ กับมากมายหลากหลายรส ที่เย้ายวนความอร่อยตลอดปี ที่ใครหลายคนเมื่อผ่านเมืองแห่งนี้ จะต้องซื้อไปฝากเพื่อนฝูง ญาติผู้ใหญ่อยู่เป็นประจำ
นครสวรรค์ถือว่าเป็นแหล่งโบราณสถาน มากมาย ไม่ว่าจะเป็น เมืองโบราณจันเสน, ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์เจ้าแม่ทับทิม, วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ในพระองค์ฯ, วัดเกรียงไกรกลาง, วัดคีรีวงศ์ พระจุฬามณีเจดีย์, วัดนครสวรรค์ วัดวรนาถบรรพต โดยมีวัดในจังหวัดนครสวรรค์มากกว่า 735 วัด ซึ่งล้วนแล้วมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น และถือเป็นเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรม เพราะที่แห่งนี้ก่อเกิดประเพณีพื้นบ้านที่สำคัญของประเทศ เช่น เต้นกำรำเคียว การแสดงลิเก รำกลองยาว หรือการแสดงหุ่นกระบอกโบราณคณะแรกในประเทศไทย โดยมีหอวัฒนธรรม จังหวัด เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล เผยแพร่ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ทะเบียนวัตถุโบราณที่มีค่ายิ่งของจังหวัดนครสวรรค์
จังหวัดนครสวรรค์จะมีสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่โดดเด่นคือ \”บึงบอระเพ็ด\” ที่เป็นแหล่งพันธุ์ปลาน้ำจืด เป็นทำเลที่ปลาอาศัยเลี้ยงตัว วางไข่ และแพร่พันธุ์ และพัฒนามาเป็นแหล่งท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด ที่มีอุโมงค์ปลาน้ำจืดยาวกว่า 24 เมตร และการแสดงโชว์จระเข้หวาดเสียวที่โด่งดังระดับประเทศ
ที่นครสวรรค์มีหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญที่มากไปด้วยช่างฝีมือการปั้นที่สืบทอดต่อกันมานับร้อยปี ที่นี่มิได้เป็นเพียงแหล่งหัตถกรรมที่มีคุณภาพเท่านั้น ปัจจุบันกลายเป็นย่านการค้า ที่จำหน่ายสินค้าไปทั่วประเทศ และแหล่งท่องเที่ยวที่สะท้อนวิถีชีวิตของชุมชนบ้านมอญของจังหวัดนครสวรรค์
นครสวรรค์ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพด้านการท่องเที่ยวทั้งทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต หัตถกรรม ตลอดจนถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันงดงาม ที่รอคอยให้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกได้มาสัมผัส นับได้ว่าเป็นเสน่ห์ที่เย้ายวนให้มาผู้เยือนได้หวนคืนกลับมาท่องเที่ยวอีกครั้ง
ผลิตโดย : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

เมืองนครสวรรค์

หลังโรงแรมเป็นหนึ่ง 18 ก.ย. 54 เวลา 15.00 น.


เทศบาลนครนครสวรรค์ โดยนายจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ของเทศบาลและประชาชน ช่วยกันขนกระสอบทรายเพื่อป้องกันน้ำท่วมบริเวณหลังโรงแรมเป็นหนึ่ง เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2554 เวลาประมาณ 15.00 น.

หลังโรงแรมเป็นหนึ่ง 18 ก.ย. 54 เวลา 15.00 น.

โรงแรมพิมาน สถานีขนส่งนครสวรรค์


โรงแรมพิมาน สถานีขนส่งนครสวรรค์

โรงแรมผีที่นครสวรรค์


(ลุงๆมือใหม่พึ่งหัดลงเสียงกัน ผิดพลาดประการใด ไม่สบอารมณ์ท่านๆ ก็ขออภัยกันด้วยนะครับ)
ถ้าชอบ ฝาก กด like กด share กด subscribe
ฝากติดตามลุงๆกันด้วยนะครับ ขอบคุณนะครับ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา: https://pantip.com/topic/37082887 เรื่องผี เรื่องลึกลับ เรื่องหลอน

โรงแรมผีที่นครสวรรค์

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่TECHNOLOGY

Leave a Comment