ต้นกร่าง มหาโชค ไกร ต้นเลียบ ผักฮี | ต้นเข้าพรรษา

ต้นกร่าง มหาโชค ไกร ต้นเลียบ ผักฮี


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ต้นเลียบ (ต้นปิปผลิ) มีชื่อพื้นเมืองที่เรียกกันต่างไปในแต่ละท้องถิ่นของไทย คือ ไกร (กรุงเทพฯ), ผักเลือด, เลียบ (ภาคกลาง), ผักฮี, ผักเฮือก, ผักเฮือด (ภาคเหนือ), ผักเฮียด (ภาคอีสาน) ส่วนทางเพชรบุรี เรียกว่า ผักไฮ, ประจวบคีรีขันธ์ เรียกว่า ไทรเลียบ และนครราชสีมา เรียกว่า โพไทร เป็นต้น แล้วแต่จะเรียกชื่อแต่เพื่อความเป็นมงคลก็มาเปลี่ยนฃื่อเรียกใหม่

ต้นกร่าง มหาโชค ไกร ต้นเลียบ ผักฮี

บัวบกโขด บอนไซที่ใคร ๆ ก็ทำได้ ไอเท็มที่คนรักไม้กระถางต้องมี Stephania erecta


๐ บัวบกโขด บัวบกโคก บัวบกหัว บัวบกป่า
๐ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): ชื่อเดิม “Stephania erecta” (เดิมป็นที่รู้จักในเชิงพาณิชย์ในชื่อจนถึงต้นปี ค.ศ. 1920) สำหรับชื่อชนิดพันธุ์เดิม “erecta” หมายถึง กิ่งก้านชี้ที่โผล่ออกมาจากหัวหรือโขด (caudex) ชื่อใหม่ คือ “Stephania pierrei” โดยชื่อชนิดพันธุ์ “pierrei” ตั้งให้เป็นเกียรติแก่นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Jean Baptiste Louis Pierre ผู้ทำการจัดลำดับพืชพันธ์นี้เสียใหม่ ชื่อสกุล “Stephania” มาจากรากศัพท์ภาษากรีก หมายถึง “มงกุฎ พวงมาลัย หรือเกียรติยศ”
๐ ชื่อสามัญ (Common Name):
๐ ชนิด (Type): ไม้โขด (Caudiciform หรือ Caudex Plant) ที่มีส่วนของ ลำต้นกิ่งก้านงอกออกจากส่วนโขด
๐ วงศ์ (Family): Menispermaceae
๐ ถิ่นกำเนิด (Native Range) : ประเทศไทย สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม
๐ ความสูงของทรงพุ่ม (Height) : 0100 เซนติเมตร (บางเอกสารบอกว่าสูงได้ถึง 8 เมตร แต่ไม่มีภาพประกอบ)
๐ ความกว้างของทรงพุ่ม: กิ่งใบยาวได้ถึง 100 เซนติเมตร ขนาดของหัวหรือโขดมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ถึง 30 เซนติเมตร (จากการบันทึกไว้จริงที่ยาวได้ถึง 1.1 เมตร ต้องใช้ระยะเวลาในการปลูกถึง 20 ปี)
๐ ระยะเวลาดอกบาน (Bloom Time): ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามข้อกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง
๐ ความต้องการแสง (Sun): แดดเต็มวันเลยหรือแดดบางส่วนของวัน
๐ ความต้องการน้ำ (Water): น้อย
๐ การดูแลรักษา (Maintenance): น้อย คอยตัดแต่งใบที่เหลือง และเสียหายออกเพื่อรักษาความสวยงามของทรงพุ่ม
๐ การใช้งานที่แนะนำ (Suggested Use): ไม้กระถางประดับในร่ม
๐ ใบไม้ (Leaf): ใบรูปโล่ (Peltate) โดยมีแผ่นใบรูปกลมคล้ายโล่ มีก้านใบติดตรงกลางด้านล่างของท้องใบ
๐ การเพาะปลูก (Culture)
การปลูกบัวบกโขด นิยมปลูกเป็นไม้กระถางควรเลือกกระถางปลูกให้มีพื้นที่ห่างจากขอบประมาณ 1 ถึง 2 นิ้ว โดยความสูงของกระถางเพียงพอต่อการรองรับน้ำหนักและทำให้ทรงพุ่มไม่คลอนแคลน หรือพลิกล้มได้โดยง่าย การเตรียมดินปลูก ควรใช้ดินผสมปลูกสำหรับกระบองเพชร หรือดินที่มีคุณสมบัติ มีความอุดมสมบูรณ์ของดินจากอินทรีย์วัตถุ มีโครงสร้างของดินที่ระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี ควรรองก้นกระถางด้วยหินหรือกรวด บริเวณด้านล่างก่อนเติมดินปลูกลงไปเนื่องจากบัวบกโขดไม่ชอบดินที่ชื้นแฉะมากเกินไป หากเป็นการเพาะปลูกครั้งแรกจากหัวหรือโขดที่ยังไม่มีใบงอกขึ้นมา ควรนำไปแช่ในน้ำอุ่นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการงอกของใบ โดยแช่ทิ้งไว้หนึ่งคืน จากนั้นให้นำขึ้นมา ให้ฝังหัวลงไปในดินประมาณสองในสามของหัว จะช่วยให้ได้รับความชุ่มชื้นมากขึ้น และงอกง่ายขึ้น นอกจากนี้อาจใช้ถุงพลาสติกครอบแล้วมัดปากเพื่อช่วยในการรักษาความชื้นให้เกิดการงอกง่ายขึ้น หรืออาจจะใช้ฮอร์โมนพืชกลุ่มออกซิน (AUXIN) ช่วยเร่งการเจริญเติบโตช่วยในการยืดตัวของยอด โดยผสมน้ำตามอัตราส่วนแล้วฉีดพ่น
สำหรับการนำมาประดับตกแต่งควรวางหัวหรือโขดโผล่พ้นดินอย่างน้อยสองในสามของหัว ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สวยงาม และทำให้รากได้รับน้ำและธาตุอาหารอย่างเพียงพอ สำหรับการรดน้ำ ให้น้ำเพียงเล็กน้อย หนึ่งถึงสองครั้งต่อสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิโดยรอบพื้นที่การปลูกเลี้ยงด้วย ถ้าอากาศแห้งและร้อนมาก อาจเพิ่มการรดน้ำเป็นวันเว้นวันต่อสัปดาห์ก็ได้ สำหรับพื้นที่วางห่างเป็นพืชในระยะอ่อนที่เพิ่งงอกจากหัวหรือโขด ให้หลีกเลี่ยงการวางในพื้นที่ได้รับแดดโดยตรง โดยวางไว้ในพืชที่ได้รับแสงแดดทางอ้อมก็เพียงพอแล้ว โดยอาจจะวางห่างจากหน้าต่างเล็กน้อย เรื่อบัวบกโขดเติบโตบีหลายใบแล้วอาจจะวางใดพื้นที่ใกล้หน้าต่างได้รับแสงแดดโดยตรงได้เลย อย่างไรก็ตามแสงแดดที่มีความเข้มและยาวนานอาจส่งผลต่อใบทำให้เกิดการแตกข้อสั้นลง และมีขนาดหัวหรือโขดที่หดตัวลง เป็นสัญญาณของพืชที่มีการสัมผัสกับแสงแดดมากเกินไป ควรย้ายพื้นที่วางที่ได้รับแสงแดดน้อยลง ทั้งนี้แสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลการควบคุมความยาวของก้านหรือข้อใบ โดยบัวบกโขดที่เจริญเติบโตในพื้นที่ที่มีแสงน้อยจะมีก้านใบที่ยืดยาวหรือข้อใบที่ห่างมากขึ้นกว่าบัวบกโขดที่ได้รับแสงแดดมาก ในขณะที่มีแต่เพียงลำต้นที่เพิ่มขึ้น พร้อมกันนี้ไม่มีใบหรือมีแต่ใบเล็ก ๆ นั่นหมายความว่าบัวบกโขดต้องการแสงมากกว่าสถานการณ์ปัจจุบัน
การขยายพันธุ์สามารถทำการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และการนำหัวโขดมาปลูกต่อ
๐ ปัญหา (Problems)
ระมัดระวังการรดน้ำมากเกินไปเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดกับบัวบกโขด สัญญาณทั่วไปของการรดน้ำมากเกินไป จะมีอาการใบเหลือง ชะงักการเจริญเติบโต ใบร่วง และหัวหรือโขดที่อ่อนยวบลง นอกจากนี้หากไม่มีใบใหม่หรือการแตกยอดใหม่เลยเป็นระยะเวลานานเป็นสัญญาณแสดงถึงสาเหตุจากการมีแสงแดดน้อยเกินไป หรือตั้งในที่มืดเกินไป ทั้งนี้ให้พิจารณาอาการประกอบกับการมี ช่วงก้านใบยืดยาว แผ่นใบอ่อน ประกอบการสังเกตอาการด้วย ในทางกลับกัน การได้รับแสงแดดมากเกินไป แสดงอาการใบไหม้มีสีน้ำตาลหรือใบกรอบ ขอบใบแห้งใบขดหรือชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้อาการใบเหลืองที่มีรัศมีสีน้ำตาลออกจากเส้นกลางใบ อาจเป็นอาการที่แสดงถึงการได้รับน้ำมากเกินไปหรือการได้รับแสงแดดมากเกินไปก็ได้ แต่มักจะแสดงถึงสัญญาณการเข้าสู่ระยะการพักตัวของพืช ทั้งนี้ให้สังเกตุการยุบตัวลงของหัวโขดประกอบกันด้วย
๐ คติความเชื่อแต่โบราณนานมาเรียกขานคนที่ปลูกอะไรก็งาม ปลูกอะไรก็ขึ้นว่าเป็นคน “มือเย็น” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Green Thumb” หรือพวกหัวแม่โป้งเขียว ก็คือคนมือเย็นน้่นเอง
๐ Muuyehn Stuido หรือ มือเย็นสตูดิโอ เป็นช่องที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกำลังใจให้คนทั้งมือเย็น มือไม่เย็น มืออุ่น มือร้อน มือไหนๆ ก็ปลูกต้นไม้ได้งอกงามดี ขอแค่ทำความรู้จักและรักที่จะปลูก
ถึงปลูกแล้วตาย ปลูกแล้วโตช้าก็อย่าได้แคร์ ขอให้ปลูกกันต่อไปนะจ๊ะ

บัวบกโขด บอนไซที่ใคร ๆ ก็ทำได้ ไอเท็มที่คนรักไม้กระถางต้องมี Stephania erecta

ว่านดอกทองเทพประสิทธิ์.


ว่านดอกทองเทพประสิทธิ์

ว่านดอกทองเทพประสิทธิ์.

ดอกเข้าพรรษา สวยบาดตาบาดใจเหลือเกิน


ดอกเข้าพรรษา สวยบาดตาบาดใจเหลือเกิน

ใกล้เทศกาลเข้าพรรษาแล้ว มาปลูกดอกเข้าพรรษา (ดอกหงส์เหิน) หลากสีสันในยางรถยนต์กันดีกว่า


สวนมานา ชวนปลูกดอกไม้เข้ากับเทศกาลเข้าพรรษาหน้าฝน
ดอกเข้าพรรษา หรือ ดอกหงส์เหิน จะบานช่วงเข้าพรรษาพอดี
ดอกมีรูปร่างสวยงาม หลากสีสัน ปลูกง่าย
ลองชมวิธีปลูกดอกเข้าพรรษาในยางรถยนต์กันนะคะ
ถ้าชอบคลิปและเห็นว่าเป็นประโยชน์
กดไลค์ กดแชร์ และกดติดตาม
เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้จัดทำด้วยนะคะ
ขอบคุณค่ะ
Mana Garden เกษตรพอเพียงปลอดสารพิษ

ใกล้เทศกาลเข้าพรรษาแล้ว มาปลูกดอกเข้าพรรษา (ดอกหงส์เหิน) หลากสีสันในยางรถยนต์กันดีกว่า

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่OUTDOOR

Leave a Comment