Contents
วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมประเพณีไทย
สังคมศึกษา | ความหมายและความสำคัญของวัฒนธรรม
วัฒนธรรม ความหมายของวัฒนธรรม ความสำคัญของวัฒนธรรม สังคมศึกษา วัฒนธรรม หมายถึง ทุกสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เนื่องจากภาษา ประเพณี ศาสนา กฎหมาย ศิลปะ จริยธรรม ตลอดจนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือของมนุษย์ ที่คิดค้นขึ้นเพื่อช่วยให้มนุษย์อยู่รอดได้ เพราะการจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ มนุษย์ต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและต้องรู้จักควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ไปด้วยกัน ถ้าชอบคลิปก็ลองโหลดมาทดลองดูนะครับ แต่ถ้าอยากดูทุกคลิปกดสมัครเลย มันไม่แพง นอกจากนี้ยังมีแผ่นสรุปและแบบฝึกหัดสำหรับทั้ง 7 วิชา ดาวน์โหลด : https://bit.ly/YTdownloadstartdee
สื่อการสอน ม.4 เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย
สื่อโมชั่นกราฟิกเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตร การเรียนรู้เทคโนโลยีและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ประเพณีและวัฒนธรรมของประเทศไทย
เรียนรู้ประเพณีและวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของประเทศไทย
ความหมายและความสำคัญของวัฒนธรรม ตอนที่ 1 18 กันยายน 20
วัฒนธรรมคืออะไร?
POP CULTURE 2 ต.ค. 59 ตอนที่ : วัฒนธรรมคืออะไร?
POP CULTURE รายการสารคดีวัฒนธรรมล้ำสมัยที่จะพาผู้ชมไปพบกับเรื่องราวยอดนิยมของประเทศไทย ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 20:35 น. ทางช่อง Amarin TV ช่อง 34 ติดตาม Amarin TV ทาง Digital TV หรือ Digital TV Box บนเว็บไซต์ ช่อง 34 : http://www.amarintv.com Facebook: https://www.facebook.com/amarintvhd Twitter: https://www.twitter.com/amarintvhd Instagram: amarintvhd Line: @amarintvhd
ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของสื่อชุมชนเพื่อการสอนสังคมชั้นปีที่ 3
สื่อ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.3 วีดิทัศน์นี้จะสอนเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ท้องที่ของประเทศไทย มันเป็นประเพณีในภูมิภาคใด? แล้วประเพณีการแข่งเรือมีไว้เพื่ออะไร และทำไมจึงจำเป็น? ประเพณีปอยซางหลง หรือประเพณีการบวชลูกแก้วคืออะไร? ประเพณีการแข่งเรือยอทช์เป็นอย่างไรและเป็นของภูมิภาคใด? บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นี้เป็นสื่อการสอนที่นำมาจากแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาในประเทศไทย (OTPC: One Tablet Per Child) จัดโดยสำนักงานเทคโนโลยีการสอนและการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรียนรู้เพิ่มเติมที่เว็บไซต์ http://www.otpchelp.com
สังคมศึกษา ป.6 ด้านวัฒนธรรมไทย
สื่อการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระ ๒ หน้าที่พลเมืองเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยควบคู่กับการจัดการเรียนรู้ ป.6 เครดิตเพลงประกอบ ชื่อเพลง ซอฟเสิร์ฟ นักดนตรี รุก1e และขอขอบคุณภาพประกอบจากการค้นหาทางอินเทอร์เน็ต สื่อนี้ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ไม่แสวงหาผลประโยชน์ทางการเงินใดๆ
.
คุณสามารถค้นหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติมได้ที่นี่: ดูการอัปเดตเพิ่มเติมที่นี่ .
วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้.
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ วัฒนธรรมไทย มีอะไรบ้าง.
>>ดูข้อมูลอัปเดตเพิ่มเติมได้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่
#วฒนธรรมและขนบธรรมเนยมประเพณไทย.
[vid_tags]วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
วัฒนธรรมไทย มีอะไรบ้าง.
เราหวังว่า แบ่งปัน ในหัวข้อ วัฒนธรรมไทย มีอะไรบ้าง นี้จะ นำความรู้ มาสู่คุณ ขอบคุณมาก.
เรื่องที่ ๓ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย
ขนบทำเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของคนไทย ซึ่งได้มีการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษสืบต่อกันมาถึงคนไทยในปัจจุบันสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์และความเจริญรุ่งเรื่องของคนไทยได้เป็นอย่างดี
๑ ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
ขนบธรรมเนียม เป็นธรรมเนียมการปฏิบัติที่ดีงามของคนไทย เช่น ผู้น้อยต้องมีความเคารพผู้ใหญ่ มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ประเพณีไทย เป็นกิจกรรมทางสังคมของคนไทยที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษ เป็นระเบียบแบบแผนที่กำหนดขึ้น และถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาจนเป็นลักษณะเฉพาะของคนกลุ่มนั้น มักเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อ ศาสนา ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๑.๑ คุณค่าและความสำคัญของขนบทำเนียมประเพณีไทย
ขนบธรรมเนียมไทยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและหลักคำสอนในศาสนาทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมไทย
คุณค่าและความสำคัญของขนบทำเนียบประเพณีไทย
๑. สร้างความสงบสุข เพราะขนบธรรมเนียบประเพณี มีรากฐานจากความเชื่อในศาสนา การประพฤติปฏิบัติตามจึงช่วยนำความสุขความเป็นสิริมาให้
๒ สร้างความรักความสามัคคี ขนบทำเนียมประเพณีเป็นกุศโลบายให้คนรู้จักการเสียสละ เช่น งานบุญต่างๆ เกิดจากความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกัน เช่น พิธีขนทรายเข้าวัด การก่อพระเจดีย์ทราย
๓ ส่งเสริมการมีสัมมาคารวะ การเเสดงออกตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย สะท้อนถึงความนอบน้อมถ่อมตน อ่อนโยน ความมีมารยาทไทยของคนไทย เช่น การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่
๔ สร้างความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ถึงแม้ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยจะแตกต่างกันในแต่ล่ะท้องถิ่น แต่เป็นการสะท้อนรากเหง้าของขนบธรรมเนียมประเพณีร่วมกัน
๕ เป็นแบบแผนของพฤติกรรมที่ดีในการจัดระเบียบทางสังคม ทำให้คนอยู่ในกรอบจริยธรรม ศีลธรรมอันดีงาม
๑.๒ ขนบทำเนียบไทย
ตัวอย่าง ขนบทำเนียมไทย
การเคารพผู้ใหญ่
ธรรมเนียมไทยให้ความสำคัญกับผู้ใหญ่จึงมีการปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ ด้วยความเคารพและมีการระลึกถึงอยู่เสมอ เช่น ในช่วงเทศกาลสงกรานต์มีการรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีและเป็นศิริมงคลในการดำเนินช่ีวิต
การนับถือครูบาอาจารย์
คนไทยถือว่าครูเป็นผู้มีพระคุณ เป็นผู้อบรมสั่งสอนวิชาความรู้ ดังนั้น จะต้องให้ความเคารพครุและมีการเเสดงออกถึงการเคารพบูชา เช่น การไหว้ครู เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณ แสดงถึงความกตัญญูของคนในสังคมไทย
การแต่งงาน
เมื่อชายหญิงมีอายุที่เหมาะสมจะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน จะต้องปฏิบัติให้ถุกต้องตามธรรมเนียมโดยฝ่ายชายจะให้ผู้ใหญ่มาจัดการทาบถามสู่ขอฝ่ายหญิง มีการเตรียมของหมั้น นัดวันแต่งงาน และจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย
การต้อนรับแขก
ธรรมเนียมไทยเมื่อมีแขกมาเยี่ยมเยือนที่บ้านจะต้องจัดการต้อนรับ เพื่อแสดงความเป็นมิตรไมตรี ให้แขกมีความประทับใจ เช่น จัดอาหารเครื่องดื่มไว้ต้อนรับ และพูดคุยด้วยอัชฌาสัย ไมตรี ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่แสดงกิริยามารยาทให้แขกรู้สึกอึดอัด
๑.๓ ประเพณีไทย
ตัวอย่าง ประเพณีไทย
ภาคเหนือ
ประเพณียี่เป็ง หรือประเพณีลอยกระทงแบบล้านนา จัดขึ้นในวันเพ็นเดือนยี่(เดื่อน ๒)เพื่อเป็นพุธทบูชา มีการปล่อยโคมไฟเพราะเชื่อว่าเปลวไฟในโคมที่ลอยสู่ท้องฟ้าเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ ส่วนเเสงสว่างจะทำให้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีเนื่องในพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๘ หรือวันเข้าพรรษาซึ่งประชาชนจะนำเทียนไปถวายพระภิกษุโดยมีการจัดขบวนแห่เทียนที่เเกะสลักเทียนเป็นลวดลายเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา
ภาคใต้
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ จัดขึ้นในวันมาฆบูชาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ และวันวิสาขบูชาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ การแห่ผ้าผืนยาวไปบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการนำไปห่มโอบล้อมองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระมหาธาตุวรวิหาร
ภาคกลาง
ประเพณีแข่งเรือยาว
เป็นประเพณีที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยที่อาศัยอยุ่ใกล้แม่น้ำ โดยจะจัดขึ้นในวันออกพรรษาเพื่อฉลองเทศกาลออกพรรษาและเพื่อสร้างความสนุกสนานและความสามัคคีของชาวบ้าน
๒ ศีลปวัฒนธรรมไทย
ศีลปวัฒธรรมไทยเป็นวิถีการดำเนินชีวิต แบบแผน การประพฤติปฏิบัติ การแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ในสถานการต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันเข้าใจ ซาบซึ่ง ยอมรับ และปพฤติปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งส่วนใหญ่มีรากฐานมาจากพระพุทธศาสนา จากการประอาชีพเกษตรกรรมโดยเฉพาะการปลูกข้าว เช่น พิธีเเรกนาขวัญ พิธีสู่ขวัญข้าว เกิดจากรากฐานความคิด ความเชื่อและสั่งสมสืบทอดต่อๆกันมา เช่น ความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ธรรมชาติ ผีบรรพบุรุษ เป็นต้น
๒.๑ คุณค่าและความสำคัญของศีลปวัฒนธรรมไทย
ศีลปวัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นชาติไทย ทำให้เกิดความเป็นระเบียบในสังคม หล่อหลอมบุคลิกภาพให้กับคนไทย และก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
คุณค่าและความสำคัญของศีลปวัฒนธรรมไทย
1.เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
2.ทำหน้าที่หล่อหลอมบุคลิกภาพให้กับสมาชิกในสังคม เช่น มารยาทไทย เป็นต้น
3.ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะมีแบบแผนการปฏิบัติอย่างเดียวกัน
4.เป็นตัวกำหนดรูปแบบสถาบัน เช่น สถาบันครอบครัวควรเป็นสามีภรรยาเดียว
5.บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของชาติไทยที่แตกต่างจากสังคมอื่น เช่น สังคมไทยทักทายด้วยการยกมือไหว้ สังคมญี่ปุ่นใช้การคำนับ สังคมตะวันตกใช้การสัมผัสมือ เป็นต้น
๒.๒ ศีลปวัฒนธรรมไทย
ตัวอย่าง ศีลปวัฒนธรรมไทย
อาหารไทย พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์
๓ ภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์ความรู้ ความสามารถ และทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร พัฒนา ปรุงแต่ง และถ่ายทอดสืบต่อกันมาเพื่อใช้แก้ปัญญาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัยมีลักษณะเป็นองค์รวม และมีคุณค่าทางวัฒนธรรม
๓.๑ คุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญาไทยเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรรค์และสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องจากอดีตสู่ปัจจุบัน เป็นสั่งที่มีคุณค่า และความสำคัญต่อคนไทยทุกคน
คุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
๑.สร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น เช่น พระมหากษัติย์ไทยทรงใช้ภูมิปัญญาในการสร้างชาติ นำพาชาติให้พ้นภัย เป็นต้น
๒.สร้างศักดิ์ศรีเกียรติภูมิและความภาคภูมิใจแก่คนไทย เช่น ภาษาและวรรณกรรมไทยเรามีตัวอักษรไทยเป็นของตนเองอาหารไทยที่รู้จักกันทั่วโลก เป็นต้น
๓.สามารถประยุกต์หลักคำสอนทางศาสนามาใช้กับวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม ทำให้คนไทยเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน ประนีประนอม รักสงบ และดำรงวิถีชีวติเรียบง่าย
๔.ก่อให้เกิดเอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ การแปรรูป และการสร้างอาชีพของท้องถิ่น เช่น การทำขนมหม้อแกงของชาวเพชรบุรี หรือการสร้างผลิตภัณฑ์ ๑ ตำบล ๑ ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
๓.๒ ภูมิปัญญาไทย
ตัวอย่าง ภูมิปัญญาไทย
ด้านการแพทย์แผนไทย
ความสามารถในการจัดการป้องกัน และรักษาสุขภาพของคนในชุมชน เช่น การนวดแผนโบราณ การดูแลและรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้านการดูแลและรักษาสุขภาพแบบโบราณไทย
ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นการอนุรักษ์ พัฒนา และการใช้ประโยชน์จากคุณค่า เช่น การทำแนวปะการังเทียม การอนุรักษ์ป่าชายเลน การจัดการป่าชุมชน เป็นต้น
ด้านศีลปกรรม
ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศีลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศีลป์ คีตศีลป์ ศิลปะมวยไทย เป็นต้น
๔ การอนุรักษ์และสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีศีลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
การอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี ศีลปวัฒธรรม และภูมิปัญญาไทย ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกคนทุกฝ่าย มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
๑.ปลูกจิตสำนึกให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทยให้ถูกต้อง
๒.ส่งเสริมสนับสนุนการจักกิจกรรมตามประเพณีอย่างถูกต้องสอดคล้องกับคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมอันดีของชาติ
๓.ฟื้นฟู เลือกสรรขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาที่กำลังจะสูนหายหรือที่สูนหายไปแล้วกลับมาปฏิบัติใหม่ ให้มีคุนค่าและมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น
๔.รณรงค์หรือประชาสัมพันธ์ให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจศึกษาค้นคว้าความรู้ ความคิด ความเชื่อ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาไทยคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
๕.ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทรงภูมิปัญญาไทย เช่น ครูภูมิปัญญาไทยศิลปแห่งชาติ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม คนดีศรีสังคม ทั้งในระดับชาติและระดับสากลเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการสร้างสรรค์และถ่ายทอดผลงาน
๖.มีพื้นที่จัดแสดงผลงานการสืบสารขนบธรรมเนียมประเพณีภูมิปัญญาของท้องถิ่นและจัดแสดงผลงานให้ต่อเนื่อง
๗.มีการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ภูมิปัญญาไทย เพื่อเป็นมรดกของท้องถิ่นและประเทศชาติเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติสืบไป
ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญา เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความดีงาม ความเชื่อพิธีกรรมที่สอดคล้องกับศาสนา เป็นมารยาทที่คนในสังคมปฏิบัติกัน ดังนั้น นักเรียนควรนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การปฏิบัติตนถูกต้องเหมาะสมตามขนบธรรมเนียมไทย การเข้าร่วมพิธีกรรมวันสำคัญต่างๆ การใช้สิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาไทย เป็นต้น อย่าเห็นว่าขนบธรรมเนียมเป็นเรื่องของความล้าสมัยไม่น่าปฏิบัติ รวมทั้งต้องปลูกฝั่งแนวคิดการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทยแก่เยาวชนในการนำไปใช้ให้ถูกต้อง