ย้อนรอยศึกตระกูลธรรมวัฒนะ | ประวัติ อาจารย์ มัลลิกา ร์ หลี ระ พันธ์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่สุด

ย้อนรอยศึกตระกูลธรรมวัฒนะ | ประวัติ อาจารย์ มัลลิกา ร์ หลี ระ พันธ์.

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประวัติ อาจารย์ มัลลิกา ร์ หลี ระ พันธ์ หรือข่าวที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โปรดไปที่: https://chewathai27.com/outdoor/ การกระทำ

ย้อนรอยศึกตระกูลธรรมวัฒนะ และรูปภาพที่เกี่ยวข้องประวัติ อาจารย์ มัลลิกา ร์ หลี ระ พันธ์

ย้อนรอยศึกตระกูลธรรมวัฒนะ ย้อนรอยศึกตระกูลธรรมวัฒนะ

ศึกสืบสานมรดกตระกูลธรรมวัฒนะ เป็นเรื่องราวที่ดำเนินมายาวนานกว่า 14 ปี มีคดีฆาตกรรมและการเสียชีวิตอย่างลึกลับของสมาชิกในครอบครัว ตามมาด้วยคดีความหลายสิบคดี ….

>>> สามารถหาข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่นี่ https://chewathai27.com/
แบ่งปันที่นี่

มัลลิการ์ หลีระพันธ์
มัลลิการ์ หลีระพันธ์

ประวัติ อาจารย์ มัลลิกา ร์ หลี ระ พันธ์ – การค้นหาที่เกี่ยวข้อง.

#ยอนรอยศกตระกลธรรมวฒนะ.

[vid_tags]

ย้อนรอยศึกตระกูลธรรมวัฒนะ

ประวัติ อาจารย์ มัลลิกา ร์ หลี ระ พันธ์.

หวังว่า แบ่งปัน ในหัวข้อ ประวัติ อาจารย์ มัลลิกา ร์ หลี ระ พันธ์ นี้จะ มีประโยชน์ มาสู่คุณ ขอบคุณมาก.

โดย…ดวงใจ จิตต์มงคล ภาพ… กิจจา อภิชนรจเรข

 

อีกหนึ่งธุรกิจครอบครัว ที่เตรียมเข้าสู่ยุคของรุ่นลูก“ชยพล” และ “ชมพลอย” ทายาทตระกูลหลีระพันธ์ ที่ต่างเข้ามาช่วยบริหารธุรกิจหลักร้านอาหารในเครือมัลลิการ์ อินเตอร์ฟู๊ด ของคุณแม่ (มัลลิการ์ หลีระพันธ์)เจ้าของแบรนด์ร้านอาหารต่างๆ อย่าง ร้านเย็นตาโฟเครื่องทรง อ.มัลลิการ์, เรือนมัลลิการ์, ร้านอาจารย์มัลลิการ์, ปาป้า ปอนด์, ปังยิ้ม และแบรนด์คุ้มกะตังค์

ความท้าทายของเจเนอเรชั่นที่ 2 ในการสานต่อกิจการครอบครัว คือ ทำอย่างไรที่จะต่อยอดธุรกิจให้เติบโต แผ่กิ่งก้านออกไปยิ่งกว่าเดิม และขณะนี้โอกาสไม่ได้จำกัดอยู่แค่ตลาดในประเทศเท่านั้น

ถึงยุคบุกต่างประเทศ

ชยพล ได้เข้ามารับผิดชอบดูแลงานหลักในฝ่ายการตลาด และงานประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์แบรนด์องค์กร และร้านอาหารในเครือ โดยเฉพาะแบรนด์เย็นตาโฟเครื่องทรง ที่กำลังวางแผนขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ทั้งในและต่างประเทศ ที่เบื้องต้นจะเห็นความชัดเจนในการขยายกิจการสาขาในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง สปป.ลาว ก่อนเป็นอันดับแรกโดยขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาข้อตกลงทางธุรกิจ

“การลุกขึ้นมาปรับและขยับใหญ่ธุรกิจในครั้งนี้ เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ที่เกิดขึ้น ซึ่งมองว่าจะเป็นอีกหนึ่งโอกาสสำคัญในการขยายธุรกิจครอบครัวที่มีความเป็นสากล ผ่านระบบและมาตรฐานที่น่าเชื่อถือ นอกเหนือจากรสชาติเมนูอาหารไทยจริงๆ ของทางร้าน” ชยพล เล่าถึงภารกิจในการขยายธุรกิจออกสู่ต่างประเทศ

สำหรับแบรนด์ อ.มัลลิการ์ ได้นำร่องเข้าไปเปิดให้บริการที่ สปป.ลาว ตั้งแต่ 2 ปีก่อน ถึงขณะนี้มี 2 สาขารวมในไทยและ สปป.ลาว ส่วนเย็นตาโฟเครื่องทรงมี26 สาขา ที่บริษัทขยายการลงทุนเอง และร้านอาหารเรือนมัลลิการ์ มี 1 สาขาในสุขุมวิท 22 ที่ใช้เรือนไทยอายุกว่า 200 ปี ส่วนปาป้าปอนด์ และพิซซ่าหน้าไทยมี 2 สาขา รวมเมนูอาหารต่างๆ ของร้านในเครือทั้งหมดแล้ว มีไม่ต่ำกว่า 500 รายการ ทีเดียว

ชยพล วางแผนเตรียมปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ โดยจะวางรูปแบบการทำงานที่มีความเป็นมืออาชีพจากเดิมที่เป็นภาพธุรกิจครอบครัว เพื่อรองรับการขยายธุรกิจไปยังตลาดต่างประเทศ และการพัฒนาธุรกิจรูปแบบ (โมเดล) ใหม่ๆ ในอนาคต ซึ่งล่าสุดบริษัทได้พัฒนาโมเดลธุรกิจแฟรนไชส์สำหรับแบรนด์ร้านอาหารเย็นตาโฟเครื่องทรง เพื่อขยายธุรกิจได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน

ทั้งนี้ รูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์แบรนด์เย็นตาโฟเครื่องทรง จะเป็นทั้งการให้สิทธิบริหารแต่เพียงผู้เดียวจากบริษัทแม่ (มาสเตอร์แฟรนไชส์) สำหรับในต่างประเทศและขยายธุรกิจสำหรับผู้สนใจทั่วไป (แฟรนไชซี) โดยคิดอัตราค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ราว 6 แสนบาท/สาขา ยังไม่รวมงบลงทุนตกแต่งอยู่ที่ 8 ล้านบาท/สาขา เป็นต้น ซึ่งขณะนี้มีผู้สนใจติดต่อขอรับสิทธิดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ 2 รายใหญ่

“ในอนาคต เรามองเป้าหมายขยายธุรกิจร้านอาหารไปยังต่างประเทศที่มีโอกาส อย่าง สิงคโปร์ ไต้หวัน และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งจากแผนธุรกิจและแนวทางการทำตลาดที่วางไว้คาดว่าน่าจะผลักดันให้บริษัทมีอัตราการเติบโตธุรกิจต่อเนื่องไม่ต่ำกว่าปีละ 20%” ชยพล ขยายแผนธุรกิจนับจากนี้ให้ฟัง

นอกจากงานด้านบริหารของชยพลแล้ว อีกมุมหนึ่ง เจ้าตัวยังมีฝีมือในการทำอาหารไม่แพ้คุณแม่ โดยเฉพาะเมนูอาหารฝรั่ง ที่คิดค้นสูตรขึ้นมา ด้วยการจับส่วนผสมและวัตถุดิบอาหารต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันจนได้เป็นเมนูแปลกแสนอร่อยหลายต่อหลายจาน ซึ่งยังไม่รวมถึงเมนูขนมหวาน อย่างฮันนีโทสต์ ช็อกโกแลตลาวา ฯลฯ ของที่ร้านที่ขึ้นชื่อความหวาน หอม และแสนอร่อย ไม่แพ้ที่ใดอีกด้วย

งานหลังบ้านต้อง ‘สตรอง’

นอกจากงานหน้าร้าน ที่ถือเป็นหน้าตาและภาพลักษณ์แล้วในส่วนของงานครัวก็นับเป็นหัวใจของธุรกิจร้านอาหารที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งปัจจุบันลูกสาวคนเก่ง “ชมพลอย”เป็นผู้ดูแลและวางแผนการผลิต เพื่อป้อนวัตถุดิบให้กับเมนูอาหารต่างๆ ในแต่ละสาขาร้านในเครือ

ชมพลอย เล่าว่า ก่อนจะเข้ามาช่วยธุรกิจของที่บ้าน เธอเองได้ไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงานนอกบ้านผ่านองค์กรที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับร้านค้าปลีก ร้านอาหารรายใหญ่ราว 2-3 แห่ง จนมั่นใจฝีมือแล้วว่า สามารถนำระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานเทียบเท่าธุรกิจร้านอาหารแบรนด์ข้ามชาติ มาปรับใช้กับธุรกิจของครอบครัวได้

อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกของการวางระบบในฝ่ายผลิตของที่ร้านนั้น ชมพลอยยอมรับว่า ต้องใช้ทั้งแรงกายและแรงใจต่อการปรับกระบวนการทำงานใหม่หมด โดยเฉพาะในเรื่องของวัฒนธรรมภายในองค์กร ส่วนหนึ่งจากการที่บุคลากรโรงงานยึดแนวทางการปฏิบัติงานแบบนี้มานาน และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ที่เรียกว่า “บิ๊กเชนจ์” ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่พอสมควร

“ในช่วงแรกที่ปาล์มเข้ามาวางระบบการผลิตใหม่ๆ ต้องผลักดันกันหลายเรื่องพอสมควร เพราะวัฒนธรรมองค์กรที่กำลังจะเปลี่ยนไป ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมา ส่วนหนึ่งจากแนวคิดของคน 2 รุ่นที่ต่างกันระหว่างคุณพ่อ คุณแม่ วิธีการทำงาน ที่ยังเคยทะเลาะกับคุณแม่ในเรื่องนี้จนร้องไห้ก็มี แต่สุดท้ายปาล์มก็ใช้เวลา หาวิธีมาพิสูจน์ได้ว่า หากนำระบบมาบริหารจัดการด้านการผลิตในโรงงานมาใช้แล้ว จะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าอย่างไร ทั้งลดต้นทุนการผลิต พนักงานทำงานมีประสิทธิภาพขึ้นมีของเสียลดลง สุดท้ายพนักงานฝ่ายผลิตแฮปปี้มากขึ้น จากการที่มีวันหยุดในช่วงเทศกาลสำคัญได้ โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ผลิตตลอด 24 ชั่วโมง เหมือนแต่ก่อน” ชมพลอย เล่า

เจ้าตัวเสริมอีกว่า การเข้ามารับผิดชอบธุรกิจครอบครัวในส่วนงานหลังบ้านนั้น เป็นเรื่องที่เธอถนัดและชอบเป็นส่วนตัวอยู่แล้ว และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตัดสินใจไปเรียนในสาขาฟู้ด ซาย วิทยาลัยนานานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล ก่อนไปต่อด้าน ฟู้ด ซัพพลายเชน ที่ประเทศอังกฤษ จากนั้นได้กลับมาทำงานหาประสบการณ์นอกบ้านสักพักหนึ่ง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการเตรียมความพร้อมจริงๆ เพื่อกลับมาลุยงานที่บ้านอย่างจริงจัง ตามแพลนที่วางไว้

ในฐานะที่ต้องรับรับผิดชอบงานฝ่ายผลิตทั้งหมดนั้นชมพลอย ยังเปรยถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงกลยุทธ์ อย่างน้ำพริกแกงที่ทำขึ้นเอง โดยใช้วัตถุดิบทั้งหมดที่โรงงานผลิตขึ้นเอง ทั้งตัวพริก พืชสมุนไพร กะทิ ที่อย่างหลังก็ใช้มะพร้าวที่ปลูกเองเป็นหลักกว่า 99% เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารเคมีจริงๆ ที่ในอนาคตยังวางเป้าหมายไปสู่การพัฒนาส่วนผสมการปรุงอาหารไทย ไปสู่ธุรกิจร้านอาหารไร้สารเคมีแบบครบวงจรในอนาคตด้วย

ล่าสุด เครือมัลลิการ์ เตรียมใช้งบลงทุนราว 200ล้านบาท ทำโรงงานแห่งใหม่ย่านรังสิต บนพื้นที่ 6 ไร่ เพื่อเพิ่มกำลังผลิตวัตถุดิบให้กับเมนูอาหารต่างๆ ในเครือ รวมถึงรองรับการขยายธุรกิจโมเดลแฟรนไชส์เย็นตาโฟเครื่อทรงในอนาคตด้วย และในกลุ่มสินค้าอาหารพร้อมทาน (เรดดี ทูอีท) อาหารแช่แข็ง (โฟรเซน ฟู้ด) เมนูต่างๆ ที่ทำตลาดภายใต้แบรนด์ อ.มัลลิการ์ ที่ทำตลาดอยู่ก่อนหน้านี้ มีตลาดส่งออกหลัก 60% อยู่ที่ญี่ปุ่น และวางแผนขยายตลาดประเทศอื่นๆ เพิ่มเติม

ถือเป็นแนวทางธุรกิจที่คู่พี่น้องทายาทธุรกิจพันล้านช่วยกันคิดและลงมือบริหาร เพื่อสร้างการเติบโตให้ธุรกิจครอบครัวอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

เปิดใจ ‘อ.มัลลิการ์’ ทายาทธรรมวัฒนะ เล่าย้อนคดีห้างทอง กับชีวิตที่(ไม่)เหมือนละคร

หลังจาก ละครเรื่อง “เลือดข้นคนจาง” ออกอากาศ สร้างกระแสฮือฮาให้กับผู้ชม เกี่ยวกับคดีมรดกเลือดตระกูลจีน ซึ่งหลายคนคิดว่า คล้ายคลึงกับ ตระกูลธรรมวัฒนะ ที่เกิดเหตุดังเมื่อราว 20 ปีก่อน ประชาชาติธุรกิจ จึงได้ สัมภาษณ์ อ.มัลลิการ์ หลีระพันธ์ เจ้าของร้านอาหาร อ.มัลลิการ์ และร้านอื่นๆ ในเครือ น้องสาวนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ

โดย อ.มัลลิการ์ เป็นลูกคนที่ 4 ในบรรดาลูกชาย-หญิง 9 คน ของ สุวพีร์ ธรรมวัฒนะ ผู้ก่อตั้งตลาดยิ่งเจริญ เป็นน้องสาวของ นายห้างทอง ธรรมวัฒนะ

Q : ถามถึงการเป็นลูกผู้หญิงในครอบครัวคนจีน เจอปัญหาพ่อแม่รักลูกชายลูกสาวไม่เท่ากันไหม

คุณแม่ไม่เป็นนะ คุณแม่อาจจะเอาใจลูกชายหน่อย แต่เวลาทำพินัยกรรม แม่แบ่งเท่ากัน ถ้าเป็นคนจีนทั่ว ๆ ไป ลูกสาวแทบจะตัดออกเลย ถ้าให้ก็ได้น้อย แต่ที่บ้าน คุณแม่ไม่เป็น จะมีก็แค่ให้ลูกสาวดูแลพี่ชาย ให้หาข้าวให้กิน อะไรต่าง ๆ คุณแม่เป็นลูกครึ่งไทย-จีน ไม่ได้เป็นจีนเต็มร้อย ส่วนคุณพ่อ (ที่บ้านเรียกว่าเตี่ย) เป็นคนจีน อาจจะเพราะคุณแม่ทำอาชีพ สร้างอะไรขึ้นมาด้วยตัวเองทั้งหมด เขาก็เลยไม่ได้เห็นความสำคัญว่าต้องผู้ชายเป็นใหญ่ เขาก็เลยให้เท่าเทียมกัน แต่ว่าตอนที่ลูกยังเล็ก ๆ ก็มีบ้างที่ลูกชายขออะไรก็ให้ง่ายกว่าลูกผู้หญิง

หลังจากที่คุณแม่ทำพินัยกรรมแล้วเสียไป เราก็ยังคิดเลยว่าเป็นลูกสาวคงได้ไม่เท่าผู้ชาย แต่คุณแม่ให้เท่ากันหมด จะให้ลูกสาวมากกว่าด้วยซ้ำ แม่ห่วงลูกสาวคนไหนมาก แม่ก็เขียนเฉพาะว่าส่วนตรงนี้ขอให้น้องคนนี้ บ้านหลังนี้ ที่ดินตรงนี้ให้พิเศษ บ้านเราก็เลยไม่เหมือนครอบครัวคนจีนทั่ว ๆ ไป

คุณพ่อเสียไปตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ ทรัพย์สมบัติที่มีเป็นของฝั่งคุณแม่สร้างเอง ไม่เกี่ยวกับฝั่งคุณพ่อ เตี่ยก็เป็นคนจีนที่แปลกเหมือนกันนะ คือ รักลูกเท่ากันทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ให้อะไรก็ให้เหมือนกันหมดเลย สำหรับทางฝั่งครอบครัวฝั่งเรานะคะ ครอบครัวอื่นไม่รู้ คือเตี่ยมีเมียหลายคน คุณแม่เป็นภรรยาคนที่ 3 แต่เป็นคนที่ทำมาหากินด้วยตัวเอง เตี่ยมีเมียคนแรกตั้งแต่อยู่เมืองจีน พอมาอยู่เมืองไทยภรรยาคนที่ 2 ก็เป็นภรรยาคนไทย แต่ละบ้านไม่ได้เกี่ยวกัน แต่หลังจากคุณพ่อเสีย คุณแม่ก็ซัพพอร์ตครอบครัวนั้น เพราะว่าลูกยังไม่โตเท่าไหร่ คุณแม่ก็ส่งเรียน เพราะว่าพอจะมีเงินสามารถส่งได้ ต้องบอกว่าคุณแม่เก่งและสปอร์ต เพราะว่าถ้าเป็นพี่ไม่รู้ว่าทำได้ไหม (หัวเราะ) ที่ต้องไปส่งเสียลูกของเมียอีกคนหนึ่ง แต่คุณแม่ส่งหมดเลย

Q : มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับค่านิยมและธรรมเนียมของคนจีนที่ว่า หลังจากลูกแต่งงานแล้ว ลูกสะใภ้จะสำคัญกว่าลูกสาว

ตลกอ่ะ ไม่เห็นด้วย คือคิดว่าทุกวันนี้ลูกชายกับลูกสาวเท่าเทียมกัน ให้อะไรก็เหมือนกัน ก็คอยสอนเสมอว่าต้องรักกัน พี่น้องมันหาไม่ได้ จริง ๆ ก็คิดนะ ถ้าได้ลูกเขยดี ลูกสะใภ้ดีก็ดี มาช่วยกันทำมาหากิน แต่ถ้าไม่ดีมันก็มีปัญหา อย่างคุณแม่ก็จะมองแบบนี้ว่า เขย สะใภ้ ไม่ให้เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะบางทีคนนี้พูดที คนนั้นพูดที แล้วมันมีปัญหา ที่แม่พี่คิดก็มีส่วนที่พี่เห็นด้วย แม่สั่งไว้ในพินัยกรรมเลยว่า ไม่ให้เขย สะใภ้ เข้ามาเกี่ยวข้อง ยิ่งตระกูลใหญ่ ๆ ยิ่งลำบาก ให้พี่น้องเขาทะเลาะกันดีกว่า

Q : ช่วงเกิดเหตุการณ์ที่คุณห้างทองเสียชีวิต บรรยากาศในครอบครัวเป็นอย่างไร

ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นก็มีปัญหากันในครอบครัวมาก่อนประมาณ 2-3 ปี เริ่มมาตั้งแต่ที่แม่เสียชีวิต ปัญหาเกิดจากพี่น้องเราหลายคน มันก็มีไม่เข้าใจกัน ก็เริ่มไม่พอใจกัน ถ้าจะพูดถึงอิจฉาริษยาบางส่วนก็มี ก็กลายเป็นทะเลาะเบาะแว้งกัน เราก็แบ่งฝ่าย แบ่งพรรค แบ่งพวกกัน เพราะพี่น้องเยอะ มันก็เป็นชนวนมาเรื่อย ๆ ก็กลายมาเป็นลุกลาม เรื่องความโลภตามมา ก็เลยเป็นปัญหา ที่จริงแล้วเงินทองเนี่ย ถ้าทุกคนรู้จักใช้ มันก็ไม่มีปัญหา ที่ได้แบ่งกันไปเนี่ย บางคนก็ใช้หมดอย่างรวดเร็ว มันก็ทำให้เกิดปัญหาได้ ฉะนั้น จริง ๆ สมบัติเนี่ย พี่ว่าหาง่ายกว่ารักษานะ รักษาไว้ให้คงอยู่มันไม่ง่ายนะ ถ้าคนหาไม่เป็นยิ่งไม่ง่ายใหญ่เลย (หัวเราะ) มันก็เป็นปัญหาในภายหลัง เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ บางคนอยากได้มากกว่านั้น

Q : พอเกิดเหตุการณ์แล้วสังคมก็เพ่งเล็งคนในครอบครัว ความรู้สึกตอนนั้นมันหนักมากมั้ย

รู้สึกสงสารพี่นพ (นพดล ธรรมวัฒนะ) เพราะว่าคู่ทะเลาะเขาไม่พอใจพี่ชาย กลายเป็นเรื่องเป็นราว แล้วพอพี่ห้างทองมายิงตัวตายในห้อง มันก็ทำให้พวกนั้นก็พยายามจะใส่… ทั้งที่รู้ ๆ ว่าไม่ใช่หรอก พี่นพดลไม่ได้ทำแน่นอน พี่ก็อยู่ข้าง พี่ก็รู้ว่าพี่นพไม่ได้ทำแน่นอน ปัญหามันเยอะแยะ เยอะมาก พี่ห้างทองเขาเครียด เขาก็คิดสั้น ตอนนั้นมันก็เลยยิ่งบานปลายไปใหญ่ เขาก็มองพี่นพ… แต่มันก็พิสูจน์แล้ว เราก็อยู่ข้างพี่นพ อยู่สู้ เป็นเสียงข้างน้อย แล้วก็ถูกเสียงข้างมากจัดการให้กระเด็นออกมาจากตลาด แต่เราก็ทำมาหากินของเราเอง ก็ไม่ใช่ว่าไม่ได้สมบัติแม่แล้วจะอยู่ไม่ได้ ความรู้สึกตอนนั้นมันก็แย่ แย่เรื่องนี้ แต่พี่ก็บอกว่า ความจริงมันต้องปรากฏ แต่ก็อย่างว่านะ ตอนนั้นสังคมก็ไปตีตราไว้แล้วว่า คุณนพเป็นคนฆ่า แต่เรารู้อยู่ ก็จริง ๆ นะว่าถ้าเป็นตาสีตาสา ก็คงถูกใส่ร้ายง่าย ๆ เลย นี่เราก็พิสูจน์ ใช้เวลานานมาก ถ้าเป็นบางคนฆ่าตัวตายไปแล้วมั้ง มันเครียด แต่พี่นพเขาเก่ง

Q : อาจารย์ไม่ได้เป็นผู้ต้องสงสัย มันกระทบกระเทือนมากไหม เครียดมากไหม

มันก็กระทบกระเทือนแหละ เครียดไปตาม พี่ชายเราเป็นแบบนี้ ไม่เครียดได้ไง แล้วมันจะชอบเหรอ อยู่ดี ๆ ตระกูลก็ดัง มันไม่ได้ดังในทางดีอ่ะ แต่เราอาจจะเครียดน้อยกว่าหน่อย เพราะมันไม่ได้ตรงที่ตัวเรา แต่เราก็สงสารพี่

Q : พอมีเรื่องแบบนั้นมันกระทบความสัมพันธ์รุ่นลูกมากน้อยขนาดไหน บรรยากาศในตระกูลเป็นอย่างไร

ตอนนั้นมันก็ห่างเหินกันไป แต่ทุกวันนี้เขาก็คุยกันนะ เราก็ไม่ได้สอนให้ลูกหลานโกรธกัน อันนี้เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จะโกรธกันก็เรื่องของผู้ใหญ่ เรื่องของเด็กมันเป็นอีกรุ่นหนึ่งไม่เกี่ยวกัน เวลามันก็คงเป็นตัวช่วย ถ้าผู้ใหญ่ไม่ไปใส่อะไรให้เด็ก ส่วนเรื่องของผู้ใหญ่ก็เรื่องของผู้ใหญ่ ก็จบกันไป อย่าง นฤมล กับคนึงนิตย์ ตอนหลังเขาก็รู้แล้วว่าอะไรเป็นอะไร ก็มาไหว้ขอโทษ

Q : อาจารย์เชื่อในสายสัมพันธ์ของครอบครัวมากน้อยแค่ใหน หรือว่าที่สุดแล้วอยู่ที่จิตใจ สายเลือดมันมีผลมากมั้ย

สายเลือดมันก็มีผล แต่สายเลือดบางคนมันไม่เข้มข้นอ่ะ บางคน (ย้ำ) อย่างพี่นี่เข้มข้นแน่นอนกับพี่นพเนี่ยรักกันพี่น้อง จะแบบไม่ว่าจะยังไง… เพราะพี่นพเนี่ย ตั้งแต่เล็ก ๆ เขาก็ดูแลพี่น้องนะ แต่ก็ไม่รู้อ่ะ เนื่องจากมีพี่น้องมาก มันก็เลยทำให้… อย่างพี่ใกล้ชิด อาจจะเป็นคนต่อกัน มันก็เลยรัก แต่พอห่างไปกับรุ่นน้องเนี่ยมันอาจจะไม่… ยังเคยคิดเลยว่าเรามาจากพ่อแม่เดียวกันรึเปล่าวะ ทำไมมันถึงเป็นแบบนี้ได้ยังไง ก็คิดอยู่ว่ามันเกิดจากอะไร มันมียีนตัวใหนที่ทำให้บ้านนี้เป็นอย่างนี้ ว่าทำไมบางคนไม่ได้คิดถึงพี่น้อง มีแต่เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ บางทีเราก็เคยคิดว่า แม่อาจจะไม่ได้สั่งสอนมาก ไม่ได้โทษแม่นะ แต่เนื่องจากแม่ทำงานหนัก ไม่มีเวลามาอบรม ก็ให้แต่เงิน อ่ะ ไปเรียน แต่ไม่มีเวลามานั่งคุยกับลูก ว่าให้ลูกรักกัน แต่มันก็เป็นกับตระกูลใหญ่ ๆ ที่มีพี่น้องหลายคน มันก็เป็นกับตระกูลที่มีเงินเยอะ ๆ เพราะฉะนั้นก็มองแล้วว่าเพราะเงิน มันเป็นตัวทำลายทุกอย่างเลย จริง ๆ แล้วเพราะเงิน ความจริงความจนเนี่ยมันก็ทำให้คนรักกันนะ อย่างคนอีสานเขาทำยังไงถึงทำให้ลูกรักพ่อแม่ ส่งเงินไปให้ เขาเลี้ยงยังไง ทำไมถึงทำให้ลูกกตัญญูจังเลย เพราะเห็นแต่ละคนทำงานส่งเงินไปให้พ่อแม่ เรื่องการเลี้ยงดูมันก็มีส่วนที่พี่น้องไม่ค่อยรักกัน

Stand Up ล้มลุกคลุกยืน – ตอนนี้ต้องให้พนักงานคิดว่าทำงานให้เหมือนพรุ่งนี้จะตกงาน!!!

ถอดรหัสฆ่า ห้างทอง ธรรมวัฒนะ : ความจริงไม่ตาย (19 ธ.ค.61)

การเสียชีวิตของนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ เมื่อ 20 ปีก่อน หลายประเด็นยังคงถูกพูดถึง หนึ่งในนั้นคือ “จดหมาย” ที่ถูกเขียนขึ้น ก่อนนายห้างทองเสียชีวิตเพียงไม่กี่ชั่วโมง นี่คือการถอดรหัสหลักฐานชิ้นสำคัญนี้ว่า นายห้างทองฆ่าตัวตาย หรือ ถูกฆาตกรรม…?

ติดตามชมในรายการ ความจริงไม่ตาย ตอน ถอดรหัสฆ่า ห้างทอง ธรรมวัฒนะ วันพุธที่ 19 ธ.ค. 61 เวลา 20.30 – 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

 

Leave a Comment