วิถี “ทุเรียนลับแล” บ้านผามูบ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ : ซีรีส์วิถีคน (10 พ.ค. 64) | ใบเมี่ยง

วิถี “ทุเรียนลับแล” บ้านผามูบ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ : ซีรีส์วิถีคน (10 พ.ค. 64)


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

อำเภอ \”ลับแล\”…เป็นเมืองในหุบเขามีชื่อเสียงโด่งดังเรื่อง \”ทุเรียน\” พันธุ์หลงลับแล, พันธุ์หลินลับแล ที่อร่อยและมีราคาแพง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ มีที่ลับแลที่เดียวและสร้างชื่อเสียงให้ชาวบ้านที่นี่
\”ทุเรียน\” เป็นมหัศจรรย์ผลไม้แห่งเมืองลับแล ด้วยความที่พื้นที่ทำมาหากินส่วนใหญ่ของชาวลับแลเป็นภูเขา ลาดชัน 45 90 องศา ทำให้ชาวบ้านที่นี่มีวิถีการปลูกผลไม้บนภูเขา ซึ่งทำมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และด้วยความอุดมสมบูรณ์ของผลไม้นานาพันธุ์อยู่บนพื้นที่ ที่เต็มไปด้วยภูเขาของเมืองลับแลนี้เอง ทำให้เกิดคำพูดที่ว่า \”ภูเขากินได้\”
\”จิ๊บ\” สุภาพ ปันลาด เจ้าของสวนทุเรียนเมืองลับแล เล่าว่า \”สวนทุเรียนบนเขาปลูกแบบธรรมชาติ\” ปลูกแล้วปล่อยอาศัยน้ำจากฝน จึงเรียกว่า \”ทุเรียนเทวดาเลี้ยง\” โดยในสมัยก่อนชาวลับแลปลูกทุเรียนบนภูเขาด้วยการยิงหนังสติ๊ก ยิงส่งเมล็ดทุเรียนไปบนภูเขา รอให้เมล็ดเจริญงอกเงย เติบโตตามธรรมชาติ ดินที่ดีอยู่แล้วจะส่งเสริมให้รสชาติของผลไม้ที่นี่อร่อย มีการใส่ปุ๋ยบ้าง จากนั้นทุเรียนจะผลิดอกออกผลให้ได้เก็บกินได้ วิถีของชาวสวนลับแล บนที่ดินเดียวกันยังผสมผสานพันธุ์ผลไม้ชนิดอื่น เช่น ลองกอง, ลางสาด, มังคุด ซึ่งให้ผลผลิตตามฤดูกาลได้ทั้งปี
การขนส่งทุเรียนลงจากภูเขา ลำบากกว่าจะได้กินทุเรียนที่นี่ เนื่องจากปลูกบนภูเขาจึงมีวิธีการลำเลียงที่พิเศษและแตกต่างจากที่อื่นด้วยภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดกันมา เช่น \”การขนทุเรียนด้วยสลิง\” โดยชาวสวนเก็บผลผลิตด้วยการใช้ลวดสลิงข้ามเขาแล้วชักรอกเข่งบรรทุกทุเรียนจากเขาลูกหนึ่งมายังอีกลูกหนึ่ง และ \”การขนทุเรียนด้วยมอเตอร์ไซค์พ่วงตะกร้า\” ขี่ลัดเลาะตามภูเขา บนเส้นทางที่คับแคบ ถนนกว้างแค่ 1 2 ไม้บรรทัด แค่ล้อมอเตอร์ไซค์วิ่งผ่านได้เท่านั้น บางช่วงทางซ้ายขวาเป็นหุบเหว ในหน้าฝนจะขนลำบาก ถนนดินเละ ต้องพันโซ่ล้อมอเตอร์ไซค์ แต่คนที่นี่ไม่ว่าจะเป็น ชายหนุ่ม ชายสูงวัย หรือ หญิงสาว ก็สามารถขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นภูเขาได้หมด ซึ่งมอเตอร์ไซค์คันหนึ่งบรรทุกผลทุเรียนในตะกร้าทั้งด้านหน้าและด้านหลังเที่ยวละหลายสิบลูก จุน้ำหนักสูงสุดประมาณ 100 120 กิโลกรัม จนเกิดเป็นอาชีพรับจ้างขนทุเรียนด้วยมอเตอร์ไซค์ ซึ่งปัจจุบันราคาทุเรียนพันธุ์หลินลับแล กิโลกรัมละ 500 550 บาท พันธุ์หลงลับแล กิโลกรัมละ 350 บาท
นับเป็นความพยายามในการทำมาหากินบนพื้นที่ภูเขาสูง ที่เส้นทางลำบาก แต่ก็มีข้อดี ทำให้ได้รสชาติทุเรียน เนื้อแน่น แห้ง อร่อย เพราะดินภูเขา และยังสร้างให้เกิดอาชีพที่หลากหลายต่อยอดจากการทำสวนผลไม้อีกด้วย
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม 2564 เวลา 17.30 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง http://www.thaipbs.or.th/TheConnect
ทุเรียนลับแล ทุเรียน ซีรีส์วิถีคน

กด Subscribe
ติดตามรายการดีๆของช่อง ได้ที่ : http://thaip.bs/YSBht5j
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBS
Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS
LINE : http://www.thaipbs.or.th/AddLINE
YouTube : http://www.youtube.com/ThaiPBS

วิถี “ทุเรียนลับแล” บ้านผามูบ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ : ซีรีส์วิถีคน (10 พ.ค. 64)

VOLG​ NAN​ | บ้านฉันอยู่ดอยสกาด |Sakaddee Homestay |พัก : สกาดดีโฮมสเตย์ | อ.ปัว | จ.น่าน | ep.5


Follow my Instagram https://www.instagram.com/nattyz_nattyzz
Follow my page facebook http://www.facebook.com/missyouforest
http://fb.me/khemmanat.aey
ดอยสกาด อ.ปัว จ.น่าน เป็นหมู่บ้านที่เป็นชุมชนขนาดเล็ก ที่มีความเป็นอยู่เรียบง่าย ท่ามกลางธรรมชาติ มีวิวหุบเขาโอบล้อมโดยรอบ แนะนำมาหน้าฝน จะได้บรรยากาศเย็นสบาย
ดอยสกาด จะเด่นเรื่องการปลูกเมี่ยง ปลูกมะแข่น และปลูกกาแฟ
เราเลือกพักที่ \”สกาดดีโฮมสเตย์\” ดูรีวิวจากในยูทูป บอกได้เลย ไม่ผิดหวังจริงๆ ตั้งแต่การต้อนรับของเจ้าของโฮมสเตย์ ณ ที่พวกเรามาถึง การบริการที่อบอุ่น เหมือนเรากลับมาเยี่ยมญาติที่บ้าน เหมือนมากินข้าวบ้านญาติผู้ใหญ่ คือบริการดีมากจริงๆ มีบริการชิมชา ดริปกาแฟฟรี
ที่นี่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวเพียง 1 กลุ่มต่อวัน
เพื่อความเป็นส่วนตัว และการดูแลได้อย่างทั่วถึง
ถ้ามาเป็นกรุ๊ป จะคิดหัวละ 850 บาท หากมาเป็นคู่ ราคาจะแพงขึ้นมานิด ตกหัวละ 1,300 บาท แต่ถือว่าได้วิว บรรยากาศ ที่สำคัญอาหารอร่อยมาก ๆๆๆๆๆๆๆ ติดใจเลยค่ะ
ชอบในความใส่ใจของการทำอาหารของที่นี่มาก ประทับใจ
การจองที่พักของโฮมสเตย์แห่งนี้ค่อนข้างจองนาน เพราะเต็มเกือบทุกวัน ใครอยากมาแนะนำให้จองล่วงหน้าหน่อยนะ ติดต่อได้ที่ https://www.facebook.com/Skaddeehomestay%E0%B8%A…
ขออภัยหากผิดพลาดประการใด
กด Like​ กด share กด Subscribe​ เป็นกำลังใจทริปต่อๆไปของพวกเราด้วยนะคะ

VOLG​ NAN​ | บ้านฉันอยู่ดอยสกาด |Sakaddee Homestay |พัก : สกาดดีโฮมสเตย์ | อ.ปัว | จ.น่าน | ep.5

เก็บใบเมี่ยงบนดอย


บ้านแม่ตอนหลวง เก็บใบเมี่ยง yokbavit
ขึ้นดอยดูการเก็บใบเมี่ยงและการมัดใบเมี่ยง

เก็บใบเมี่ยงบนดอย

วิถีคนป่าเมี่ยง บ้านขุนปั๋ง ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ : ซีรีส์วิถีคน (28 มิ.ย. 64)


บ้านขุนปั๋ง ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านกลางหุบเขา ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 100 กิโลเมตร ถนนหนทางที่จะเข้าไปในหมู่บ้านยังเป็นถนนลูกรัง รถที่ใช้สัญจรไปมาได้มีเพียงรถกระบะและรถจักรยานยนต์ ใช้ไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ และน้ำจากประปาภูเขา แม้จะเป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลและอยู่ในหุบเขา แต่ผู้คนในหมู่บ้านนี้เป็นคนเมืองจึงสื่อสารกันด้วยคำเมือง มีวิถีความผูกพันอย่างล้ำลึกกับเมี่ยง พืชตระกูลชาอัสสัม
พ่อหลวงสุชาติ แปงคำ ผู้ใหญ่บ้านบ้านขุนปั๋ง เล่าว่าคนหมู่บ้านนี้เกิดมาก็เห็นต้นเมี่ยง นิยมเคี้ยวหรืออมเมี่ยงแก้ง่วงเวลาไปทำงานและยังเป็นของต้อนรับแขก ที่สำคัญอาศัยเมี่ยงเลี้ยงชีพมาหลายร้อยปี ทุกบ้านจึงมีโอ่งหรือไหหมักเมี่ยง นอกจากนั้นยังอธิบายเพิ่มเติมว่า \”เมี่ยง\” ของที่นี่จะปลูกไว้ตามภูเขาปะปนอยู่กับต้นไม้อื่น ๆ ใบและยอดมีมูลค่าที่แตกต่างกัน ใบเมี่ยงที่หมักไว้กินไว้ขาย ราคาเพียงมัดละ 10 บาท แต่หากเป็นยอดอ่อนที่นำไปทำชา ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 1,000 บาท
ชาวบ้านขุนปั๋งอยู่กับ \”เมี่ยง\” ตั้งแต่เช้าถึงค่ำ เพราะต้องขึ้นดอยไปเก็บใบเมี่ยงแต่เช้าแล้วนำมานึ่งในเวลาเย็น มัดและดองในยามค่ำคืน บางครั้งหากไฟฟ้าถูกตัดก็จะต้องอาศัยแสงเทียนในการมัดเมี่ยง ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำเมี่ยงตั้งแต่เก็บถึงการนึ่งนั้น ก็เป็นอุปกรณ์ที่เรียบง่าย หาได้ในพื้นที่ทำขึ้นเองและใช้งานมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็น \”เล็บเก็บเมี่ยง\” ทำจากฝาหม้อ \”หลัวหรือฟืน\” เก็บจากในสวน \”ไหนึ่งเมี่ยง\” จากไม้ที่ใช้งานมานานก็ทำเอง วิลาวัลย์ ศรีปัญญา ชาวบ้านที่นั่นเล่าว่าไหนึ่งเมี่ยงคือสิ่งมีค่า ให้ราคาเรือนแสนก็ไม่ขาย เพราะมีบุญคุณและสร้างรายได้ให้เธอหลายแสนบาทแล้ว
ปัจจุบันลูกค้าที่นิยมกินเมี่ยงมีอยู่ทั่วภาคเหนือ หากเป็นฤดูกาลปกติก็จะมีพ่อค้าแม่ค้าขับรถขึ้นมาซื้อแต่หากเป็นหน้าฝนก็จะลำบากหน่อย เนื่องจากถนนลื่น การเข้าออกในพื้นที่ก็จะยาก ชาวบ้านที่นี่ให้ความมั่นใจว่าต้นเมี่ยงที่บ้านของพวกเขาจะไม่หายไปไหน เพราะว่าทำกันแบบอนุรักษ์ด้วย ช่วงไหนที่ไม่ทำก็ปล่อยให้ต้นเมี่ยงเติบโตเป็นป่าไป ไม่ถางทิ้ง เมื่อจะกลับมาทำก็แค่มาถางหญ้าออกก็สามารถที่จะเก็บใบเมี่ยงขายได้อีกครั้ง มรดกที่พ่อแม่ทิ้งเอาไว้ให้นี้ ไม่มีทางที่จะหายสาบสูญ แม้คนจะเลิกทำจนหมดหมู่บ้าน ต้นเมี่ยงก็ยังอยู่เป็นป่าให้ความชุ่มชื้นตลอดไป
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564 เวลา 17.30 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมย้อนหลังได้ทาง http://www.thaipbs.or.th/TheConnect
ซีรีส์วิถีคน วิถีคนป่าเมี่ยง

กด Subscribe ติดตามรายการดี ๆ ของช่อง ได้ที่ : http://thaip.bs/YSBht5j
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBS
Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS
LINE : http://www.thaipbs.or.th/AddLINE
YouTube : http://www.youtube.com/ThaiPBS

วิถีคนป่าเมี่ยง บ้านขุนปั๋ง ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ : ซีรีส์วิถีคน (28 มิ.ย. 64)

วิธีทำเมี่ยง ห่อใบเมี่ยงhow to wrap fermented tea leaves


มาดูวิธีการห่อเมี่ยง ทั้งแบบเค็มและหวานในแบบโบราณถ่ายจากที่บ้านศรีนาป่านตาแวน ในจังหวัดน่านครับที่นี่เค้ามีการทำเมี่ยงและใบชาออกจำหน่าย ทั้งในประเทศและมีการส่งออกต่างประเทศด้วย ไม่รู้จะมีใครสนใจเรื่องราวแบบนี้หรือเปล่า ก็เก็บมาฝากกันครับ

วิธีทำเมี่ยง ห่อใบเมี่ยงhow to wrap fermented tea leaves

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆCUISINE

Leave a Comment