สาวลาวเดินสนามบินสุวรรณภูมิแบบตื่นตาตื่นใจไปหมดเลย//ສາວລາວໄປຍ່າງເລາະສະໜາມບິນສຸວັນນະພູມ | สนามบินอู่ตะเภา สมัครงาน

สาวลาวเดินสนามบินสุวรรณภูมิแบบตื่นตาตื่นใจไปหมดเลย//ສາວລາວໄປຍ່າງເລາະສະໜາມບິນສຸວັນນະພູມ


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

การเดินทางสนามบินวัดไตนครหลวงเวียงจันทร์ไปยังสนามบินสุวรรณภูมิกรุงเทพมหานคร
ใช้เวลาในการเดินทาง1ชั่วโมงกับ11นาที
เดินเล่นที่สนามบินสุวรรณภูมิ34ชั่วโมงเดินจนขาลากกันไปเลย
จากนั้นขื้นเครื่องไปต่ออีก ติดตามดูปูนาด้วยนะคะ ว่าจะบินต่อไปไหน???

สาวลาวเดินสนามบินสุวรรณภูมิแบบตื่นตาตื่นใจไปหมดเลย//ສາວລາວໄປຍ່າງເລາະສະໜາມບິນສຸວັນນະພູມ

โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 และ 3 (Full version)


โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 และ 3 (Full version)

คืบหน้าสนามบินอู่ตะเภา เมืองการบินตะวันออก


บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA ที่ได้รับสิทธิพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพันธมิตรร่วมกันระหว่างบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโนไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เดินหน้าแผนงานหลังจากที่ได้ลงนามไปเมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2563
ภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโนไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โดยระบุว่า ขณะนี้ UTA ได้ทำข้อตกลงจัดสรรงบประมาณ 1.8 พันล้านบาท ให้ซิโนไทยเริ่มดำเนินงานในส่วนของการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร (เทอร์มินัล) ในส่วนที่สามารถทำได้ทันที เช่น การออกแบบปรับพื้นที่ เพื่อให้พร้อมต่อการเข้าพื้นที่ก่อสร้างเมื่อได้รับหนังสืออนุญาตเข้าพื้นที่ (NTP)
“ตอนนี้เรียกว่าเรามีความพร้อมมากที่จะเริ่มงานก่อสร้าง เมื่อได้รับ NTP ที่มีกำหนดตามแผนงานว่าจะได้รับในช่วงต้นปี 2565 เราก็พร้อมที่จะเข้าไปเริ่มงานก่อสร้างได้เลย เพราะตอนนี้เราได้ทำงานบางส่วนแล้ว กำลังจัดหาต่างชาติเข้ามาช่วยออกแบบเทอร์มินัล และเมื่อได้แบบเราก็จะนำแบบนั้นมาออกแบบดีเทลดีไซด์ต่อ”
สำหรับการเร่งรัดงานดังกล่าว เนื่องจากโครงการก่อสร้างเทอร์มินัลของท่าอากาศยานอู่ตะเภา มีระยะเวลากำหนดต้องแล้วเสร็จภายใน 3 ปี ซึ่งถือว่าเร็วกว่างานก่อสร้างเทอร์มินัลในท่าอากาศยานอื่นที่จะมีกำหนดเวลาก่อสร้าง 5 ปี ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องเตรียมพร้อม เพื่อให้สามารถเริ่มงานตอกเสาเข็มก่อสร้างได้ทันทีภายหลังที่ได้รับหนังสือ NTP หากรอ NTP และเริ่มงานออกแบบภายหลัง อาจจะไม่ทันต่อกำหนดระยะเวลาโครงการ
นายภาคภูมิ ยังกล่าวอีกว่า ตามสัญญาทาง UTA ต้องส่งแผนแม่บท (มาสเตอร์แพลน) ให้กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ภายใน 1 ปี นับจากวันที่ลงนามสัญญา ซึ่งจะครบกำหนดในเดือน มิ.ย.นี้ โดยปัจจุบันทาง UTA อยู่ระหว่างจัดทำมาสเตอร์แพลน ไม่มีปัญหาติดขัด และมั่นใจว่าจะเดินหน้าโครงการเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
ทั้งนี้ หากภาครัฐไม่สามารถออก NTP ได้ตามกำหนดในช่วงต้นปี 2565 โดยอาจจะเลื่อนเป็นกลางปี 2565 ทาง UTA ก็มั่นใจว่าจะไม่กระทบต่อภาพรวมโครงการ เพราะปัจจุบันได้เริ่มงานในส่วนที่สามารถดำเนินการได้แล้ว โดยเข้าใจว่าการออก NTP มีหลายเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง ทั้งระบบสาธารณูปโภคด้านอื่นๆ ดังนั้นอาจทำให้เกิดความล่าช้าได้
สุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เผยว่า การทำงานเกี่ยวกับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ตอนนี้พันธมิตรทุกส่วนอยู่ระหว่างร่วมกันทำ และรับผิดชอบงานในส่วนที่ตนเองถนัด ซึ่งในส่วนของบีทีเอสได้รับมอบหมายให้ศึกษาออกแบบการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ พัฒนาเมืองการบิน โดยปัจจุบันคืบหน้าไปมาก กำลังศึกษาความเหมาะสมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องนำมาพัฒนาจะเป็นรูปแบบใด
ขณะที่โครงการเร่งด่วนจะต้องดำเนินการในระยะที่ 1 คือ การพัฒนาอาคาคผู้โดยสารหลังที่ 3 ซึ่งปัจจุบันบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA ได้คัดเลือกเอกชนรับงานออกแบบอาคารดังกล่าวแล้ว มีเอกชนยื่นข้อเสนอเป็นบริษัทออกแบบชั้นนำ 1 ใน 3 ของโลก ประกอบไปด้วย Foster ผู้ออกแบบอาคารรูปไข่ที่มีชื่อเสียงในอังกฤษ รวมไปถึงบริษัทสถาปนิก SOM และ KPF
“ตอนนี้เราเลือกบริษัทนักออกแบบอย่างไม่เป็นทางการแล้ว อยู่ระหว่างรอนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) UTA ซึ่งบริษัทออกแบบระดับโลกนี้ จะเข้ามาช่วยเราออกแบบสถาปัตยกรรมภายในอาคารผู้โดยสาร ช่วยเราวางรูปแบบของอาคารทั้งหมดในโครงการนี้”
นอกจากนี้ UTA มั่นใจว่าจะสามารถส่งแผนแม่บทโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ได้ตามเป้าหมายกำหนด คือ ภายในเดือน มิ.ย.นี้ ซึ่งปัจจุบันแผนดังกล่าวใกล้แล้วเสร็จ ไม่มีปัญหาใหญ่ติดขัด ซึ่งรวมไปถึงปัญหาของการพัฒนาอาคารเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ขณะนี้ก็สามารถแก้ไขได้แล้ว ไม่ได้เป็นปัญหาที่มีนัยยะสำคัญ
“เราพูดคุยร่วมกับเอกชนเจ้าของโครงการไฮสปีดเทรนมาตลอด ไม่ได้มีปัญหาให้กังวลใจ เรื่องการขยับสถานีไฮสปีดตัวแบบเสร็จแล้ว มีการขยับสถานีเล็กน้อย แต่ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่เรื่องความกังวลใจ เรากังวลว่าหากไฮสปีดเทรนล่าช้าจะกระทบกับโครงการเมืองการบินมากกว่า เพราะปัจจุบันก็ทราบว่ายังไม่ได้ออก NTP เพื่อเริ่มงานก่อสร้าง”
สำหรับแผนการลงทุนของโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก UTA จะใช้งบ 186,566 ล้านบาท ในจำนวนนี้รวมงบซ่อมบำรุงตลอดสัญญา 50 ปี 61,849 ล้านบาท ส่วนที่เหลือแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 งบลงทุน 31,290 ล้านบาท ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารขนาด 157,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 15.9 ล้านคนต่อปี
ระยะที่ 2 งบลงทุน 23,852 ล้านบาท พัฒนาอาคารผู้โดยสารมีพื้นที่เพิ่มขึ้นกว่า 107,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด30 ล้านคนต่อปี ระยะที่ 3 งบลงทุน 31,377 ล้านบาท เป็นการต่อขยายอาคารผู้โดยสารเพิ่มเติมจากระยะที่ 2 กว่า 107,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 45 ล้านคนต่อปี และระยะที่ 4 งบลงทุน 38,198 ล้านบาท มีพื้นที่อาคารผู้โดยสารหลังที่สองของเมืองการบิน เพิ่มขึ้นกว่า 82,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 60 ล้านคนต่อปี
EEC สนามบินอู่ตะเภา เมืองการบินภาคตะวันออก

คืบหน้าสนามบินอู่ตะเภา เมืองการบินตะวันออก

พาดูสนามบินอู่ตะเภา ช่วงโควิดระบาด


วันที่ 3 สค.2564 สายการบินนกแอร์ต้องยุติการบินที่สนามบิน หลังจากเพิ่งทำการบินมาตั้งแต่วันที่24 กค.2564 ได้แค่10วันเท่านั้น เพราะมีมติของ ส.บ.ค. ประกาศให้ระยองเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม และสนามบินอู่ตะเภาก็อยู่ในเขตจังหวัดระยองจึงจำเป็นต้องยุติการบินทั้งหมด

พาดูสนามบินอู่ตะเภา ช่วงโควิดระบาด

สถานีราชปรารภ AERA1 SkyTrain อีกหนึ่งสถานีที่กำลังอัพเกรดเตรียมรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน


สถานีราชปรารภ เป็นอีกหนึ่งสถานที่กำลังทำการปรับปรุงเพื่อเตรียมรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเช่นกัน
กลุ่มซีพีลงทุนปรับปรุงบริการของแอร์พอร์ตเรลลิงค์ในหลายส่วน เช่น สิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานีรถไฟฟ้า ป้ายโฆษณา ตลอดจน การปรับปรุงขบวนรถโดยสารเพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นราว 250300 คนต่อเที่ยว และยังเตรียมงบประมาณเพื่อปรับปรุงระบบสื่อสาร และระบบอาณัติสัญญาณ ระบบของรถไฟแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ให้สามารถรองรับระบบไฮสปีดเทรน อีกทั้งเตรียมปรับปรุงทางหลีกของขบวนรถไฟฟ้า ปรับปรุงสถานี จะมีการปรับโฉมในเรื่องของสีตกแต่งภายในอาคารและตัวรถโดยสารและปรับปรุงพื้นที่ทางเดิน ฟุตบาท โดยรอบสถานี @nanny official

สถานีราชปรารภ AERA1 SkyTrain อีกหนึ่งสถานีที่กำลังอัพเกรดเตรียมรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆTECHNOLOGY

Leave a Comment