เด็กนับหมื่นแห่ชมเครื่องบินรบ สนามบินอู่ตะเภา วันเด็กแห่งชาติ | งาน สนาม บิน อู่ ตะเภา

เด็กนับหมื่นแห่ชมเครื่องบินรบ สนามบินอู่ตะเภา วันเด็กแห่งชาติ


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

เด็กนับหมื่นแห่ชมเครื่องบินรบ สนามบินอู่ตะเภา วันเด็กแห่งชาติ
วันนี้ 12 ม.ค.62 ที่ สนามบินอู่ตะเภา กองการบินทหารเรือ ต.พลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง พลเรือตรี สมชาย แท่นนิล ผู้บัญชาการกองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ ได้จัดให้มีการนำเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพเรือ มาจอดให้ประชาชน เด็กและเยาวชน ได้เข้าชมกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งในปีนี้ได้รับความร่วมมือจาก กองทัพอากาศ จัดเครื่องบินF 16 บินผาดโผน ระยะต่ำเพื่อสาธิตการบินโจมตีเป้าหมายสนามบินอู่ตะเภา ส่วนทางด้านทหารเรือ ได้จัดเครื่องบินทุกชนิดมาโชว์ ให้เด็กได้ขึ้นชม
พลเรือตรี สมชาย แท่นนิล ผู้บัญชาการกองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ กล่าวว่า ภายในงาน ยังได้มีการนำปืนยิงต่อสู้อากาศยาน รถสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV) และรถหุ่มเกาะลาดตระเวน นำมาจัดแสดง พร้อมทั้งได้มีการสาธิตการกระโดดร่ม ต่อตัว เกาะกลุ่ม โดยนักกระโดดร่ม การโชว์แสดงปฎิบัติการทางทหารในรูปแบบต่าง ๆ การแสดงบนเวที ดนตรี ร้องเพลง และมีของขวัญมอบให้แก่เด็ก ๆ เป็นจำนวนมาก โดยภายในงานยังได้มีการซุ้มนิทรรศการมากมาย เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษา หาความรู้ ความคู่ไปกับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับเด็ก ๆ และผู้ปกครอง ที่พาบุตรหลานเข้าชมเป็นอย่างมาก
นิราช ทิพย์ศรี /นันทพล ทิพย์ศรี อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 0909535645,0945565622/0863684323

เด็กนับหมื่นแห่ชมเครื่องบินรบ สนามบินอู่ตะเภา วันเด็กแห่งชาติ

คืบหน้าสนามบินอู่ตะเภา เมืองการบินตะวันออก


บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA ที่ได้รับสิทธิพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพันธมิตรร่วมกันระหว่างบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโนไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เดินหน้าแผนงานหลังจากที่ได้ลงนามไปเมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2563
ภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโนไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โดยระบุว่า ขณะนี้ UTA ได้ทำข้อตกลงจัดสรรงบประมาณ 1.8 พันล้านบาท ให้ซิโนไทยเริ่มดำเนินงานในส่วนของการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร (เทอร์มินัล) ในส่วนที่สามารถทำได้ทันที เช่น การออกแบบปรับพื้นที่ เพื่อให้พร้อมต่อการเข้าพื้นที่ก่อสร้างเมื่อได้รับหนังสืออนุญาตเข้าพื้นที่ (NTP)
“ตอนนี้เรียกว่าเรามีความพร้อมมากที่จะเริ่มงานก่อสร้าง เมื่อได้รับ NTP ที่มีกำหนดตามแผนงานว่าจะได้รับในช่วงต้นปี 2565 เราก็พร้อมที่จะเข้าไปเริ่มงานก่อสร้างได้เลย เพราะตอนนี้เราได้ทำงานบางส่วนแล้ว กำลังจัดหาต่างชาติเข้ามาช่วยออกแบบเทอร์มินัล และเมื่อได้แบบเราก็จะนำแบบนั้นมาออกแบบดีเทลดีไซด์ต่อ”
สำหรับการเร่งรัดงานดังกล่าว เนื่องจากโครงการก่อสร้างเทอร์มินัลของท่าอากาศยานอู่ตะเภา มีระยะเวลากำหนดต้องแล้วเสร็จภายใน 3 ปี ซึ่งถือว่าเร็วกว่างานก่อสร้างเทอร์มินัลในท่าอากาศยานอื่นที่จะมีกำหนดเวลาก่อสร้าง 5 ปี ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องเตรียมพร้อม เพื่อให้สามารถเริ่มงานตอกเสาเข็มก่อสร้างได้ทันทีภายหลังที่ได้รับหนังสือ NTP หากรอ NTP และเริ่มงานออกแบบภายหลัง อาจจะไม่ทันต่อกำหนดระยะเวลาโครงการ
นายภาคภูมิ ยังกล่าวอีกว่า ตามสัญญาทาง UTA ต้องส่งแผนแม่บท (มาสเตอร์แพลน) ให้กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ภายใน 1 ปี นับจากวันที่ลงนามสัญญา ซึ่งจะครบกำหนดในเดือน มิ.ย.นี้ โดยปัจจุบันทาง UTA อยู่ระหว่างจัดทำมาสเตอร์แพลน ไม่มีปัญหาติดขัด และมั่นใจว่าจะเดินหน้าโครงการเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
ทั้งนี้ หากภาครัฐไม่สามารถออก NTP ได้ตามกำหนดในช่วงต้นปี 2565 โดยอาจจะเลื่อนเป็นกลางปี 2565 ทาง UTA ก็มั่นใจว่าจะไม่กระทบต่อภาพรวมโครงการ เพราะปัจจุบันได้เริ่มงานในส่วนที่สามารถดำเนินการได้แล้ว โดยเข้าใจว่าการออก NTP มีหลายเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง ทั้งระบบสาธารณูปโภคด้านอื่นๆ ดังนั้นอาจทำให้เกิดความล่าช้าได้
สุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เผยว่า การทำงานเกี่ยวกับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ตอนนี้พันธมิตรทุกส่วนอยู่ระหว่างร่วมกันทำ และรับผิดชอบงานในส่วนที่ตนเองถนัด ซึ่งในส่วนของบีทีเอสได้รับมอบหมายให้ศึกษาออกแบบการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ พัฒนาเมืองการบิน โดยปัจจุบันคืบหน้าไปมาก กำลังศึกษาความเหมาะสมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องนำมาพัฒนาจะเป็นรูปแบบใด
ขณะที่โครงการเร่งด่วนจะต้องดำเนินการในระยะที่ 1 คือ การพัฒนาอาคาคผู้โดยสารหลังที่ 3 ซึ่งปัจจุบันบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA ได้คัดเลือกเอกชนรับงานออกแบบอาคารดังกล่าวแล้ว มีเอกชนยื่นข้อเสนอเป็นบริษัทออกแบบชั้นนำ 1 ใน 3 ของโลก ประกอบไปด้วย Foster ผู้ออกแบบอาคารรูปไข่ที่มีชื่อเสียงในอังกฤษ รวมไปถึงบริษัทสถาปนิก SOM และ KPF
“ตอนนี้เราเลือกบริษัทนักออกแบบอย่างไม่เป็นทางการแล้ว อยู่ระหว่างรอนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) UTA ซึ่งบริษัทออกแบบระดับโลกนี้ จะเข้ามาช่วยเราออกแบบสถาปัตยกรรมภายในอาคารผู้โดยสาร ช่วยเราวางรูปแบบของอาคารทั้งหมดในโครงการนี้”
นอกจากนี้ UTA มั่นใจว่าจะสามารถส่งแผนแม่บทโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ได้ตามเป้าหมายกำหนด คือ ภายในเดือน มิ.ย.นี้ ซึ่งปัจจุบันแผนดังกล่าวใกล้แล้วเสร็จ ไม่มีปัญหาใหญ่ติดขัด ซึ่งรวมไปถึงปัญหาของการพัฒนาอาคารเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ขณะนี้ก็สามารถแก้ไขได้แล้ว ไม่ได้เป็นปัญหาที่มีนัยยะสำคัญ
“เราพูดคุยร่วมกับเอกชนเจ้าของโครงการไฮสปีดเทรนมาตลอด ไม่ได้มีปัญหาให้กังวลใจ เรื่องการขยับสถานีไฮสปีดตัวแบบเสร็จแล้ว มีการขยับสถานีเล็กน้อย แต่ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่เรื่องความกังวลใจ เรากังวลว่าหากไฮสปีดเทรนล่าช้าจะกระทบกับโครงการเมืองการบินมากกว่า เพราะปัจจุบันก็ทราบว่ายังไม่ได้ออก NTP เพื่อเริ่มงานก่อสร้าง”
สำหรับแผนการลงทุนของโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก UTA จะใช้งบ 186,566 ล้านบาท ในจำนวนนี้รวมงบซ่อมบำรุงตลอดสัญญา 50 ปี 61,849 ล้านบาท ส่วนที่เหลือแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 งบลงทุน 31,290 ล้านบาท ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารขนาด 157,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 15.9 ล้านคนต่อปี
ระยะที่ 2 งบลงทุน 23,852 ล้านบาท พัฒนาอาคารผู้โดยสารมีพื้นที่เพิ่มขึ้นกว่า 107,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด30 ล้านคนต่อปี ระยะที่ 3 งบลงทุน 31,377 ล้านบาท เป็นการต่อขยายอาคารผู้โดยสารเพิ่มเติมจากระยะที่ 2 กว่า 107,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 45 ล้านคนต่อปี และระยะที่ 4 งบลงทุน 38,198 ล้านบาท มีพื้นที่อาคารผู้โดยสารหลังที่สองของเมืองการบิน เพิ่มขึ้นกว่า 82,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 60 ล้านคนต่อปี
EEC สนามบินอู่ตะเภา เมืองการบินภาคตะวันออก

คืบหน้าสนามบินอู่ตะเภา เมืองการบินตะวันออก

พาดูสนามบินอู่ตะเภา ช่วงโควิดระบาด


วันที่ 3 สค.2564 สายการบินนกแอร์ต้องยุติการบินที่สนามบิน หลังจากเพิ่งทำการบินมาตั้งแต่วันที่24 กค.2564 ได้แค่10วันเท่านั้น เพราะมีมติของ ส.บ.ค. ประกาศให้ระยองเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม และสนามบินอู่ตะเภาก็อยู่ในเขตจังหวัดระยองจึงจำเป็นต้องยุติการบินทั้งหมด

พาดูสนามบินอู่ตะเภา ช่วงโควิดระบาด

สถานีราชปรารภ AERA1 SkyTrain อีกหนึ่งสถานีที่กำลังอัพเกรดเตรียมรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน


สถานีราชปรารภ เป็นอีกหนึ่งสถานที่กำลังทำการปรับปรุงเพื่อเตรียมรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเช่นกัน
กลุ่มซีพีลงทุนปรับปรุงบริการของแอร์พอร์ตเรลลิงค์ในหลายส่วน เช่น สิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานีรถไฟฟ้า ป้ายโฆษณา ตลอดจน การปรับปรุงขบวนรถโดยสารเพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นราว 250300 คนต่อเที่ยว และยังเตรียมงบประมาณเพื่อปรับปรุงระบบสื่อสาร และระบบอาณัติสัญญาณ ระบบของรถไฟแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ให้สามารถรองรับระบบไฮสปีดเทรน อีกทั้งเตรียมปรับปรุงทางหลีกของขบวนรถไฟฟ้า ปรับปรุงสถานี จะมีการปรับโฉมในเรื่องของสีตกแต่งภายในอาคารและตัวรถโดยสารและปรับปรุงพื้นที่ทางเดิน ฟุตบาท โดยรอบสถานี @nanny official

สถานีราชปรารภ AERA1 SkyTrain อีกหนึ่งสถานีที่กำลังอัพเกรดเตรียมรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

คลิป VDO ประชาสัมพันธ์โครงการสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก


คลิป VDO ประชาสัมพันธ์โครงการสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก
วันนี้ได้คลิปรายละเอียดโครงการสนามบินอู่ตะเภา ที่ใช้ในงานแถลงข่าว เมื่อวานมา เลยเอามาสรุปให้เพื่อนๆ ฟังหน่อยครับ
————————
โครงการสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเป็นหัวใจของการพัฒนาเมืองการบิน (Aerotopolis) ซึ่งอยู่ภายในพื้นที่ของ EEC โดยใช้สนามบินอู่ตะเภาของสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเป็นของกองทัพเรือ มาพัฒนาต่อ
พื้นที่สนามบินอู่ตะเภา(ด้านพลเรือน) ในปัจจุบันประกอบด้วย
Runway ที่ 1 ยาว 3.5 กิโลเมตร ซึ่งสมัยสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกาได้สร้างและพัฒนา เพื่อใช้ในกิจการสงคราม
Terminal 1 รองรับผู้โดยสารได้ 700,000 คน/ปี
Terminal 2 รองรับผู้โดยสารได้ 3 ล้านคน/ปี
ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการอยู่ 1.5 ล้านคน/ปี
————————
ซึ่งภายในโครงการจะพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาในอนาคตคือ
ส่วนที่รัฐบาลสร้าง
สร้าง Runways ที่ 2 ความยาว 3.5 กิโลเมตร เท่าเดิม ซึ่งมีระยะห่างประมาณ 750 เมตร ซึ่งเพียงพอให้สามารถ ขึ้นลง ขนาน พร้อมกันได้
ก่อสร้างอาคารวิทยุการบินหลังใหม่
โครงการศูนย์ซ่อมเครื่องบิน (ก่อนหน้านี้ การบินไทย จับมือกับ Airbus แต่ทางโครงการไปก่อน)
ส่วนที่เอกชนสร้าง
สร้าง Terminal หลังที่ 3 โดยต้องมีความสามารถในการรองรับผู้โดยสารสูงสุด 60 ล้านคน/ปี ในระยะ 50 ปี (ขยายเป็นช่วงๆ โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 4 เฟส
ศูนย์ขนส่งภาคพื้น (จุดเปลี่ยนถ่ายการขนส่งระหว่างขนส่งมวลชนรูปแบบอื่นๆ เช่น รถไฟความเร็วสูง)
ศูนย์การค้าและศูนย์ธุรกิจ (Commercial Gateway)
เขตประกอบการเสรี (FTZ) และ Airport City
ศูนย์ขนส่งสินค้า และ Logistic (Cargo complex)
————————
ในส่วน Terminal 3 ซึ่งเชื่อมต่อกับศูนย์ขนส่งภาคพื้น ซึ่งเป็นส่วนเชื่อมต่อผู้โดยสาร
จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่ทันสมัย เช่น
ระบบการ Checkin อัตโนมัติ (Smart Airport)
ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automate People Mover, APM)
ศูนย์ขนส่งภาคพื้นดิน (Ground Transportation Center, GTC) มีขนาดพื้นที่กว่า 30,000 ตารางเมตร เพื่อให้การเดินทางในรูปแบบต่างๆ เช่น รถไฟความเร็วสูง รถบัส แท็กซี่ สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ได้อย่างรวดเร็วและไร้รอยต่อ
พื้นที่กิจกรรมด้านอุตสาหกรรมการบินที่เกี่ยวข้อง นอกจากองค์ประกอบหลักดังกล่าวแล้ว ยังมีองค์ประกอบที่ดำเนินกิจกรรมเชิงพาณิชย์และส่งเสริมการเป็น Aviation Hub ของโครงการฯ คือ
Commercial Gateway ขนาดพื้นที่กว่า 400,000 ตารางเมตร จัดเป็นพื้นที่ร้านค้าปลอดภาษี ร้านค้าและภัตตาคาร โรงแรม รวมทั้ง Business Park และ Airport City ซึ่งมีขนาดพื้นที่กว่า 1 ล้านตารางเมตร ประกอบด้วย ศูนย์การค้า ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า อาคารพักอาศัยและอาคารสำนักงาน
————————
ในโครงการแบ่งการพัฒนาสนามบินเป็น 4 ระยะคือ
ระยะที่ 1 มีอาคารผู้โดยสารขนาดพื้นที่กว่า 157,000 ตารางเมตร พื้นที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ อาคารจอดรถ ศูนย์ขนส่งภาคพื้นดิน
หลุมจอดอากาศยาน 60 หลุมจอด คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปี พ.ศ. 2567 สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 15.9 ล้านคนต่อปี

ระยะที่ 2 อาคารผู้โดยสารมีพื้นที่เพิ่มขึ้นกว่า 107,000 ตารางเมตร (เป็น Satellite Terminal 1 ส่วนที่ 1)
พร้อมทั้งติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) เชื่อมจาก Terminal 3 เข้าสู่ Sat 1 เป็นสะพานข้าม Taxiway และระบบทางเดินเลื่อน
รวมทั้งเพิ่มหลุมจอดอากาศยานอีก 16 หลุมจอด คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปี พ.ศ.2573 โดยประมาณการว่า จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด30 ล้านคนต่อปี
ระยะที่ 3 เป็นการต่อขยายอาคารผู้โดยสารเพิ่มเติมจากระยะที่ 2 กว่า 107,000 ตารางเมตร (ต่อจาก SAT 1 เดิม) พร้อมกับ เพิ่มจำนวนรถขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) อีก 1 ขบวน
รวมทั้งเพิ่มหลุมจอดอากาศยานอีก 34 หลุมจอด คาดว่าจะ แล้วเสร็จประมาณปี พ.ศ. 2585 ประมาณการรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 45 ล้านคนต่อปี

ระยะที่ 4 หรือระยะสุดท้าย มีพื้นที่อาคารผู้โดยสารหลังที่สองเพิ่มขึ้นกว่า 82,000 ตารางเมตร (เป็น Satellite Terminal 2 อยู่ทางทิศตะวันออกของสนามบิน ใกล้กับ Cargo) พร้อมทั้งติดตั้งระบบ Checkin แบบอัตโนมัติ รวมทั้งเพิ่มหลุมจอดอากาศยานอีก 14 หลุมจอด
ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปี พ.ศ. 2598 ประมาณการรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 60 ล้านคนต่อปี
—————————
เดี๋ยวผมจะคัดภาพรายละเอียดที่น่าสนใจมาให้ชมกันอีกทีครับ
ขอบคุณคลิปจากทาง รถไฟฟ้าบีทีเอส ครับ
ขอให้ฟินกับคลิปนี้เหมือนกับผมนะครับ

คลิป VDO ประชาสัมพันธ์โครงการสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่TECHNOLOGY

Leave a Comment