เด็ดเพลงดัง – ศรเพชร ศรสุพรรณ (Official Audio Album) | เรือนแพ ภาคกลาง

เด็ดเพลงดัง – ศรเพชร ศรสุพรรณ (Official Audio Album)


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

1.ใจจะขาด
2.เสียน้ำตาที่คาเฟ่
3.คนสวยใจดำ
4.อีแม๊ะ
5.ชุมทางเขาชุมทอง
6.ซมซาน
7.ยืนร้องไห้คอยใคร
8.ลานเทสะเทือน
9.สมัครรักสมัครแฟน
10.หยิกแกมหยอก
11.อภัยให้เรียม
12.แฟนประจำ
13.นาดำนาดอน
14.สุกก่อนห่าม
15.ห้องนอนคนจน
16.หนุ่มสลัม
17.เมาจนนึกไม่ออก
18.กระท่อมพ่อหม้าย
19.เก็บเงินแต่งงาน
20.จ้างก็ไม่รัก

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่\r
Youtube https://www.youtube.com/channel/UCnm6ohF4dI3h9GiIUTtKxfg\r
Facebook http://bit.ly/2brUnb9\r
เว็บไซด์ : https://www.rose.co.th

เด็ดเพลงดัง - ศรเพชร ศรสุพรรณ (Official Audio Album)

วิถีชุมชนเรือนแพสะแกกรัง จ.อุทัยธานี : ซีรีส์วิถีคน [CC] (5 ก.ค. 64)


\”แม่น้ำสะแกกรัง\” มีชุมชนชาวแพที่มีวิถีชีวิตผูกพันสายน้ำแห่งนี้ โดยมีเรือนแพที่มีทะเบียนถูกต้อง ประมาณ 350 หลัง มีผู้อยู่อาศัยจริงประมาณ 100 กว่าหลังคาเรือน ชาวแพมีอาชีพทำประมงน้ำจืด เลี้ยงปลาในกระชัง เช่น ปลาสวาย, ปลาแรด และปลาเทโพ นอกจากนี้ชาวแพก็ยังจับปลาจากในแม่น้ำสะแกกรังหรือแหล่งน้ำอื่น ๆ มาทำเป็นปลาแห้ง ปลาเค็ม แล้วนำไปขายในตลาดเป็นรายได้ให้กับครอบครัว นอกจากนั้นยังมีการปลูกพืชผักลอยน้ำ เช่น เตย เป็นต้น เรือนแพเป็นทั้งบ้านอันอบอุ่นและที่ทำมาหากินเลี้ยงชีพของชาวบ้าน ความเป็นอยู่ของคนที่นี่สงบสุข เรียบง่าย สามารถพึ่งพาอาศัยกันได้ทุกเรื่อง คนดังของที่นี่มีหลายคน เช่น
คนที่ 1 \”ป้าแต๋วปลาย่างรมควัน\” นางศรีวภา วิบูรณ์รัตน์ หรือ ป้าแต๋ว อายุ 65 ปี หนึ่งในชุมชนชาวแพแม่น้ำสะแกกรัง ที่อาศัยสายน้ำแห่งนี้เลี้ยงชีวิตนาน ยังคงดำเนินวิถีชีวิตย่างปลา ด้วยข่าไม้ย่างปลาแบบโบราณในเรือนแพ ตั้งแต่ จากรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย มาจนถึงทุกวันนี้ เป็นการสืบสานภูมิปัญญาแปรรูปปลาจากรุ่นสู่รุ่น นำปลาไปย่างรมควัน กรรมวิธีการทำต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ใช้ปลาเนื้ออ่อน ปลาเกร็ด ปลาดุก ปลาช่อน ข่าย่างปลามีขนาดกว้าง 3 ศอก ยาว 10 ศอก ทำจากไม้ย่างปูพื้น ใช้สังกะสีกรุไม้กระดานรอบ ๆ ก่อน เอาดินละเอียดใส่พื้นข่าให้แน่นและหนา ใช้ขี้เลื่อยไม้เป็นเชื้อเพลิงในการย่าง โดยนำปลาวางลงบนตะแกรง ใช้เสื่อรำแพนสานจากไม้ไผ่คลุมปิดทับ ย่างด้วยไฟอ่อนไปเรื่อยๆนาน 3 4 วัน จนเนื้อปลาแห้งเบากรอบ แต่ระหว่างนั้นให้กลับปลาเพื่อจะได้สุกและสีเสมอกัน
คนที่ 2 \”ป้าเทือง ผู้เสียสละแพให้กับนกกวัก\” \”ประเทือง แจ่มโต\” หรือ ป้าเทือง อาศัยอยู่ในเรือนแพตั้งแต่กำเนิด คุ้นเคยกับธรรมชาติรอบ ๆ ตัว มีความผูกพันกับสายน้ำและสัตว์ในธรรมชาติ อย่างครอบครัวนกกวัก ป้าเทืองแบ่งแพให้อยู่อาศัย 1 แพ โดยนกกวักจะอยู่ในกอต้นเตยด้านข้างของแพ บางเวลานกกวักก็จะเดินเล่นรอบ ๆ แพ ป้ารัก หวงและห่วง ห้ามคนเข้าใกล้กอต้นเตยเป็นเด็ดขาด ทุกวันป้าจะเอาไข่แดงไปวางให้นกกวักได้กินเป็นอาหาร นอกจากนั้นป้ายังมีปลาที่มาอาศัยอยู่รอบ ๆ แพของป้า รวมถึงนกอีกหลายชนิดที่วนเวียนมาทำรังที่บ้านของป้า
เรือนแพ ที่อยู่อาศัยของชาวบ้านที่นี่ต้องซ่อมทุก ๆ 4 ปี การซ่อมแซมแพนี้เป็นความสามารถเฉพาะตัว ต้องอาศัยคนที่เชี่ยวชาญ ความรู้การซ่อมแพเป็นภูมิปัญญาที่ส่งต่อกันรุ่นต่อรุ่น ในส่วนของวัสดุที่เป็นไม้ ที่นำมาสร้างและซ่อมแซมเรือนแพก็มีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจพูดได้ว่าค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตอยู่บนเรือนแพนั้นแพงกว่าที่จะขึ้นไปใช้ชีวิตอยู่บนบก สาเหตุนี้ทำให้ชาวเรือนแพบางส่วนย้ายขึ้นไปอยู่บนบกกันมากขึ้นปัจจุบันนี้มีการคุมกำเนิดเรือนแพไม่ให้มีการสร้างเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการสิ้นสุดของชุมชนเรือนแพที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในอนาคต
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม 2564 เวลา 17.30 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง http://www.thaipbs.or.th/TheConnect

กด Subscribe ติดตามรายการดี ๆ ของช่อง ได้ที่ : http://thaip.bs/YSBht5j
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBS
Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS
LINE : http://www.thaipbs.or.th/AddLINE
YouTube : http://www.youtube.com/ThaiPBS

วิถีชุมชนเรือนแพสะแกกรัง จ.อุทัยธานี : ซีรีส์วิถีคน [CC] (5 ก.ค. 64)

#เรือนไทยภาคกลาง


เรือนไทยภาคกลาง
เรือนไทยภาคกลาง เป็นเรือนไทยประเภทที่นิยมที่สุด มีลักษณะเป็นเรือนยกพื้น ใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินเสมอศีรษะคนยืน รูปทรงล้มสอบ หลังคา ทรงสูงชายคายื่นยาว เพื่อกันฝนสาด แดดส่อง นิยมวางเรือนไปตามสภาพแวดล้อมทิศทางลมตามความเหมาะสม
ถือเป็นแบบฉบับของเรือนไทยเดิมที่เราคุ้นเคยกันดี ในรูปแบบ เรือนฝาปะกนถือเป็น เรือนไทยแท้ เรือนไทยฝาปะกน คือเรือนที่ฝาทำจากไม้สัก มีไม้ลูกตั้งและลูกนอน และมีแผ่นไม้บางเข้าลิ้นประกบกัน สนิท หน้าจั่วก็ทำด้วยวิธีเดียวกัน เราจะพบเห็นเรือนไทยภาคกลาง รูปแบบต่าง ๆ อาทิ เรือนเดี่ยว เรือนหมู่ เรือนหมู่คหบดี และ เรือนแพ

#เรือนไทยภาคกลาง

แบบบ้านลอยน้ำ EP.111 หลังเล็กๆ ห้องนอนใต้หลังคา ขนาด 12.2 x 6.2 เมตร


แบบบ้านลอยน้ำ EP.111 หลังเล็กๆ ห้องนอนใต้หลังคา ขนาด 12.2 x 6.2 เมตร
ไม่ต้องไป กาญจนบุรี กันแล้วครับ เพราะ กาญจนบุรีเป็นเมืองที่มีแพมาก ไหลไปทางแม่น้ำ ให้เราได้พักผ่อน คลิปนี้ ขอนำเสนอ แบบบ้านแพลอย พักอาศัยได้ 1 4 คน
โดยการใช้ถัง 200 ลิตร พลาสติก ที่ลอยน้ำช่วยรับน้ำหนักบ้านทั้งหลัง ตัวบ้านทำจากโครงสร้างไม้ มีระเบียงหน้าและหลัง เป็นทางขึ้น และมุมพักผ่อน
หลังคาจั่ว มีความสูง เพื่อเป็นห้องนอนใต้หลังคา จากบันไดลิง ขึ้นไปครับ บ้านหลังนี้จะเน้นพื้นที่ส่วนกลาง ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องทานอาหาร ส่วนนั่งเล่น เหมือนกับสร้างไว้ให้ได้พักผ่อนกับจริงๆ

แบบบ้านลอยน้ำ EP.111 หลังเล็กๆ ห้องนอนใต้หลังคา ขนาด 12.2 x 6.2 เมตร

ครูอาสาครั้งแรก! ตามรอย คิดถึงวิทยา ll Bivoyage


นี่เป็นหนึ่งใน Vlog ที่เฟิร์นชอบที่สุดเลยตั้งแต่ทำ Vlog มา เฟิร์นดูแล้วยิ้มตลอด ดูไปก็คิดถึงไป เป็นช่วงเวลาที่ดีมากจริงๆ
.
เฟิร์นไปเป็นครูอาสามาค่ะ เป็นระยะเวลาสั้นๆ แค่ 2วัน 1คืน จริงๆ อันนี้ไปแบบไม่เป็นทางการเท่าไหร่ แค่อยากไปเจอน้องๆ เฉยๆ แต่ก็ทำให้ติดใจแล้วก็คิดว่าจะต้องหาโอกาสไปอีกบ่อยๆ เลยค่ะ
.
ยังไงมาลองดู Vlog นี้กันนะคะ แล้วถ้าสนใจอยากลองทำงานอาสาบ้างก็ลองลุยดูเลยค่ะ มีงานหลากหลายรูปแบบและหลายเพจที่เปิดรับนะคะ เผื่อเราอาจบังเอิญได้เจอกันซักงาน 🙂
❥ อย่าลืมกด Subscribe และกดกระดิ่งกันด้วยนะคะ
คลิก : https://www.youtube.com/user/bif3rn
ติดตามเฟิร์นช่องทางอื่น ได้ที่
Instagram :https://www.instagram.com/bifern/
Facebook : https://web.facebook.com/b1voyage?_rdc=1\u0026_rdr

ครูอาสาครั้งแรก! ตามรอย คิดถึงวิทยา ll Bivoyage

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆTIPS

Leave a Comment